วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

111: พระพุทธรูปเชียงแสนแสนมหัศจรรย์

ผมเองคงมีความผูกพันกับการสร้างพระมาเกือบทุกยุคทุกสมัยกระมัง หลวงพ่อเหรียญชัย มหาปัญโญ แห่งถ้ำสุมณฑาก็บอกเป็นนัยๆ หลวงตาอรุณก็บอกมีมากมาย ใครๆก็บอกมาเช่นนั้น วันนี้พระพุทธรูปเชียงแสนเสด็จมาอีกหลายองค์ มีทั้งองค์ขนาดหน้าตัก 1 นิ้ว 4.5 นิ้ว และ 5 นิ้ว มีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์ นวโลหะ ทยอยหลั่งไหลมา มีเหตุให้ต้องไปอัญเชิญมาทุกที (มีสื่อบางอย่างบอกบ้างเป็นบางคราว) ก็แปลกดี ไหนๆจริตของผมมันก็เป็นเช่นนี้ ก็ขอให้มาเสียให้พอ เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่คนรุ่นหลัง ผมจึงนำมาออกเผยแพร่ โดยมิได้มุ่งหวังให้ผู้ใดลุ่มหลง หรือเพื่อชื่อเสียงเงินทองแต่อย่างใด ให้ศึกษาด้วยสติและปัญญาพิจารณาไปพร้อมๆกันนะครับ เขาสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร
ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
25 มกราคม 2555
เนื้อนวโลหะ(สัมฤทธิ์) หน้าตัก 1 นิ้ว
เนื้อเงินสัมฤทธิ์ผิวกลับดำ หน้าตัก 1 นิ้ว
เนื้อสัมฤทธิ์สนิมเขียว หน้าตัก 4.5 นิ้ว พิมพ์สิงห์สาม
เนื้อสัมฤทธิ์ออกทองเหลือง หน้าตัก 5 นิ้ว พิมพ์สิงห์หนึ่ง

172. พระเชียงแสน ขนาดห้อยคอ
กระทู้นี้ขอนอกเรื่องไม่เกี่ยวกับพระเครื่องสายวัง
ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงพระเชียงแสนขนาดห้อยคอ ที่พบมีมากกว่า 30 พิมพ์ ในบางพิมพ์ไม่เหมาะและผู้เขียนมองแล้วไม่ถูกใจถึงไม่ได้เก็บมา ที่จะนำมากล่าวถึงมีเพียง 20 กว่าพิมพ์ พระเครื่องห้อยคอสมัยเขียงแสนเป็นพระเครื่องห้อยคอขนาดหน้าตัก 6 หุนมีจำนวนน้อยพิมพ์ ส่วนใหญ่จะมีหน้าตักหนึ่งนิ้วเป็น และที่ใหญ่กว่านี้มีน้อยมาก พระเชียงแสนที่พบมีพุทธานุภาพ ความแรง " ไร้ขีดจำกัด "
ยุคอาณาจักรการปกครองในสมัยต่างๆ หากย้อนถอยหลังกลับไปยกเว้น เจ้าประคุณ หลวงพ่อ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต ยังไม่พบยุคสมัยใดที่มีพระเครืื่องห้อยคอที่มีผู้อธิษฐานจิตที่มีพุทธานุภาพเทียบเท่าความแรงระดับ "ไร้ขีดจำกัด" จึงกล่าวได้ว่าน่าสนใจอย่างยิ่งที่จะมีไว้ครอบครองไว้ในกรุส่วนสักชุด หรือ มีไว้สักองค์ก็ยังดีกว่าไม่มี
อาณาจักรเชียงแสนนั้นแผ่ปกคลุมอาณาบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน ในพื้นที่ประเทศลาวบางส่วน พื้นที่ประเทศพม่าบางส่วน และพื้นที่จีนตอนใต้บางส่วน พื้นที่อันไพศาลนั้นก่อให้เกิดความหลากหลายของเชื้อชาติ เทคโนโลยี เชิงช่างชั้นสูงศิลปแห่งยุคสมัยที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้นจากโบราณ ก่อให้เกิดการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมเข้ากับเทคนิคการหล่อโลหะอันน่าทึ่ง การรักษารูปร่างพิมพ์ทรงและลวดลายที่ละเอียดอ่อนได้แสดงออกถึงเชิงช่างที่มีฝีมือชั้นครูของชาวเชียงแสน จากพระเครื่องที่มีขนาดเล็กที่ได้พบ
องค์พระ...เป็นสำริดเงินสนิมเขียว สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นฝีมือหล่อของช่างหลวงที่จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีเพื่อประกอบศาสนกิจภายในราชสำนักหรือหมู่ชนชั้นสูง สร้างได้ปราณีต
พระเครื่องขนาดห้อยคอที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงนี้ประกอบด้วยการสร้าง ดังนี้
พระเครื่องขนาดห้อยคอที่พบมีอายุระหว่าง 713 - 733 ปี รวมระยะเวลาการสร้าง ประมาณ 20 ปี คือ ระหว่าง พ.ศ.1821 ถึง พ.ศ.1841
วิวัฒนาการขององค์พระเครื่องขนาดห้อยคอของอาณาจักรเชียนแสนที่พบ มีการลอกเรียนแบบแม่พิมพ์คล้ายหรือเหมือนกัน และมีการพัฒนาการที่แตกต่าง 4 ลักษณะ
1. พระเครื่องห้อยคอ องค์พระ...ก้นตัน
2. พระเครื่องห้อยคอ องค์พระ...ก้นไม่ตัน
3. พระเครื่องห้อยคอ องค์พระ...ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ)
 
4. แบบพิเศษ ไม่เข้าเงื่อนไข ข้อหนึ่งถึงข้อสาม
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 1
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
  ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 2 ก้นไม่ตัน องค์นี้คนขายมือซนขัดองค์พระ...ทำให้เห็นเนื้อเงินสำริด
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและใต้ฐานพระทาสีแดง ทับบนผงพุทธคุณดังรูป
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 2
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 2 ก้นไม่ตัน
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและใต้ฐานพระทาสีแดง ทับบนผงพุทธคุณดังรูป
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 3 ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 2 ก้นไม่ตัน
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 4
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 5
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
 พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 6
พระอุปคุตจกบาตร(พระบัวเข็มจกบาตร) พิมพ์ที่1
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 7
พระอุปคุตจกบาตร พิมพ์ที่ 2
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 8
พระอุปคุตสะดือทะเล
ลักษณะที่ 4 แบบพิเศษ ไม่เข้าเงื่อนไข ลักษณะที่ 1, 2 และ 3 (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
  ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 9
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 10
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 11
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 12
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 13
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 14
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 15
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 16
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 17
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 18
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 19
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 20
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ พระร่วง แบบที่ 1
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 21
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ พระร่วง แบบที่ 2
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 22
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ พระร่วง แบบที่ 3
 
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 23
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ พระสังกัจจายน์
พระสมัยเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 24
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ ปางห้อยพระบาท(ขวา)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 25
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและใต้พื้นฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ ปางประทานพร(นั่ง)
พระบูชาสมัยเชียงแสน(ของแท้)โบราณสืบต่อๆกันมาถึงปัจจุบันมีผู้นิยมบูชา อันเนื่องมาจากมีพุทธคุณแรงระดับ "ไร้ขีดจำกัด" มีราคาเช่าหาแพง + ความเก่า
ผู้เขียนจึงขอแนะนำพระเชียงแสน ขนาดห้อยคอมีหน้าตักประมาณ 1 นิ้ว ในกระทู้นี้มีทั้งหมด 25 พิมพ์ ซึ่งของจริงมีมากกว่านี้ จะบูชาที่ห้องพระหรือนำห้อยแขวนคอดีมาก ดีกว่าพระเครื่องดังๆของเมืองไทยที่เช่าหากันหลักหลายๆล้าน มีพุทธคุณรอบด้านครบเครื่อง พบที่ไหนเหมือนให้เก็บไว้ก่อน ความสงสัยเอาไว้ที่หลัง ขอให้โชคดีครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม
We have been collectors of Asian antiques for too years, especially Buddhist art. Although our inventory comes primarily from Southeast Asia, it also includes eclectic pieces from China, Tibet, Indonesia and Central Asia. We have tried to maintain the highest esthetic level in our purchases, and we feel that discriminating collectors will value these objects as we have. It is now our pleasure to find new homes for these unique piecesWe hope you enjoy viewing the site
พระยืนศิลปแบบหริภุญไชยทวาราวดี เนื้อสำริดหล่อโบราญสนิมเขียว อายุราวพุทธศตวรรธที่ 11
Thawarawadee Buddha immage has bilding from bronze Made by old haripunchai technical 
Age crame to 8th to 11th centuries
ศิลปแบบทวาราวดี
อาญาจักรหริภุญชัยนั้นมีความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ยาวนาน กินอาณาบริเวณไปกว้างใหญ่ไพศาล เป็นบ้านเป็นเมืองมาก่อนเชียงใหม่เสียอีก ด้วยความยิ่งใหญ่ของอาญาจักรหริภุญชัยนั้น นับเนื่องมาจากความสำคัญของชัยภูมิที่มั่นเป็นปราการทางด้านทิศเหนือของแค้วนกำโพช ที่มีศุนย์กลาวการปกครองอยู่ที่เมือง ลวปุระหรือลพบุรีในสมัยนี้ ซึ่งได้ส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นราชธิดามาครองเมืองนับเป็นการแสดงให้เห็นความสำคัญของเมืองนี้ได้เป็นอย่างดี แบบอย่างศิลปของจังหวัดลำพูน สามารถแบ่งแยกได้หลากหลายแขนง ขึ้นอยู่กับการรับอิทธิพลมาจากศิลปะในแบบต่างๆ เช่น ศิลปะอินเดีย ศิลปะศรีเกษตรแบบพุกามศิลปะแบบบายน และ พนมโบว์กุกแบบลพบุรี และศิลปะล้านนาที่พัฒนาและเลื่อนไหลซึมซับมาจากพื้นถิ่นเอง โดยอายุของพระพิมพ์ที่สร้างจากเมืองหริภูญไชย นั้นสามารถคาดการณ์อายุได้จากการศึกษาศิลปะของพระแต่ละรูปแบบ ชนิดและแต่ละองค์ที่สร้างขึ้นเช่นพระเปิมพระคง พระบาง พระนารายณ์ทรงปืนนั้นชัดเจนว่าได้รับอิทธิพลจากลพบุรี อายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 พระพิมพ์ศิลปะนี้ปรากฏ พระพิมพ์ปางสมาธิ ปางมารวิชัย และประทับยืนปางประทานพร พระพักตร์กว้างมน หรือบางพิมพ์ดูเป็นรูปสี่เหลี่ยมตามแบบพระพุทธรูปทวารวดี พระเนตรอูมโปน พระนาสิกเป็นสัน แสดงขอบจีวรเป็นเส้นนูนรอบคอ พระพุทธรูปและพระสาวกโดยมากมีประภามณฑลรอบเศียร พระพิมพ์ที่แสดงศิลปะแบบทวารดีนี้น่าจะมีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 พระพิมพ์สกุลช่างหริภูญไชยศิลปะทวารดีนี้ได้แก่ พระกวาง พระกล้วย และพระยืนวัดมหาวัน
เทวรูปสมัยหริภุญไชยราวพุทธศตวรรธ ที่ 13 ศิลปแบบลพบุรี
ต่อมาเป็นพระพุทธรูปและเทวรูปศิลปะลพบุรี
เฉลี่ยอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
พระพิมพ์ศิลปะนี้ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะเขมร แบบนครวัด ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15 พระพิมพ์ศิลปะนี้ประกออบด้วยพระพุทธรูปสามองค์นั่งเรียงกันองค์กลางมีขนาดใหญ่กว่า องค์ด้านข้าง ลักษณะพระพักตร์แบบสี่เหลี่ยม มักประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เช่น เทริด ทองพระกร พระพิมพ์ศิลปะนี้ประกอบด้วย พระสาม กรุวัดดอนแก้ว พระสามกรุท่ากาน พระสิกขี พระป๋วย พระนารายณ์ทรงปืนเป็นต้น และจากบทความนี้เป็นการสันนิษฐานอายุของพระพิมพ์ จากการศึกษาศิลปะแบบต่างๆแต่ก็อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนบ้างนะครับในแง่ของอายุของพระพิมพ์ต่างๆที่อาจน้อยกว่าอายุที่คาดคะเน นอกจากนั้นการสร้างขึ้นมาในภาพหลังโดยเกจิอาจารณ์ แต่ทำแม่พิมพ์ขึ้นโดยล้อแบบศิลปะแบบต่าง ๆ เช่น ศิลปะแบบอินเดีย และศิลปะแบบพุกาม ส่วนเรื่องของอายุที่อาจจะเก่าแก่กว่าที่คาดคะเนนั้น ไม่น่ามีความเป็นไปได้เนื่องจาก อายุที่คาดคะเนนั้นเป็นยุคแรกของการสร้างพระพุทธรูปของศิลปะแขนงนั้นๆ เช่น พระคงที่สร้างขึ้นในยุคหลัง แบบวัดช้างค้ำ และแบบวัดดอยคำ สร้างแบบศิลปะอินเดียจริง แต่เป็นการสร้างล้อแบบพระคง กรุลำพูน ที่มีความเก่าแก่กว่าโดยเดิมอยู่แล้ว
พระบูชาเชียงแสนสิงห์สามขนาดหน้าตักกว้าง 6 หุนเนื้อสำริด
ChangSan Style Buddha Immage Made from Bronze Has Age 700 Year
พระบูชาเชียงแสนสิงห์หนึ่งขนาดหน้าตักกว้าง 8 หุน(1")เนื้อสำริด
ChangSan Style Buddha Immage Made from Bronze Has Age 700 Year
Histry of the Buddha Image Bilding in Buddha emperer
May be that Dvaravati culture developed from prehistoric culture which had existed in the alluvial plains of central Thailand. Certainly the spread of Buddhism into the area during the 4th century was a unifying force. Dvaravati art indicates that Hinayana Buddhism was first introduced.

A number of Buddha statues showing marked Indian influence from the Amaravati-Gupta-post Gupta styles have been found. These statues from the 6th to 8th centuries period are made of stone, bronze, stucco, and terra cotta. Later, influences from Srivijaya art spread from the south through the central region into the northeast and Mahayana Buddhism took strength. Many statues of the Bhodhisatavas dated 8th to 11th centuries were found.

Finally the popular belief reverted to inayana Buddhism once more. 
Archaeological field projects are bringing to light knowledge of the Dvaravati lifestyle. Dvaravati pottery displays distinct incised and applies decorations. Personal effects such as ear-rings, beads, bangles, rings, bells, etc., have been found, again showing influences from India. Coins and medallions have also been unearthed, indicating advanced civilization. Depicted on these are animal figures and symbols representing fertility, the life elements and the Buddhist belief.
The decline of the Dvaravati culture is subject to further study. The popular theory is that it disintegrated under the invasion of foreign armies. More acceptable is the theory that external cultural influences took precedence and absorbed Dvaravati into oblivion. During the 12th century, some towns were abandoned due to changing water courses. Others continued to flourish into the Ayudhaya period, being built upon until little of the original Dvaravati remained.
During the 8th to 9th centuries, Srivijaya art was at its height in the South.


Scholars differ in Their theories about the seat of the great Srivijaya empire. Whenever that may be, it become the vast trading centre in Southeast Asia. It also created a cultural system in the southern part of present day Thailand during the 3rd to 14th centuries. Archaeological evidence of this period may be seen in the remains of a well organized irrigation system is Songkhla. Artifacts found in the Thailand and dating back to this trading period range from Phoenician coins to Roman beads.
ข้อมูลเพิ่มเติม

พระบูชาเชียงแสน
อาณาจักรเชียงแสนนั้นแผ่ปกคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่เชียงแสนไปจนถึงเชียงใหม่ พะเยา ลำปาง น่าน เชียงคำ งาว พื้นที่อันไพศาลนั้นก่อให้เกิดความหลากหลายของเชื้อชาติเทคโนโลยี เชิงช่างชั้นสูงศิลปแห่งยุคสมัยที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้น ได้ก่อให้เกิดการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมเข้ากับเทคนิคการหล่อโลหะ อันน่าทึ่ง การรักษารูปร่างพิมพ์ทรงและลวดลายที่ละเอียดอ่อนนั้นได้แสดงออก ถึงเชิงช่างที่มีฝีมือชั้นครูของชาวเชียงแสนได้เป็นอย่างดี

พระองค์นี้ได้มาจากพระครู ที่เชียงรายครับเมื่อมีโอกาศไปเชียงรายเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมานี่เอง
องค์พระนั้นประทับนั่งปางมารวิชัยสองพระเนตรนั้นหลุบต่ำแลดูสงบสะท้อนถึงความร่มเย็นแห่งยุคสมัย
ความละเอียดของพิมพ์นั้น ทำเอาผู้ส่องถึงกับอึ้งกับความละเอียดขนาดปรากฏรอบเล็บมือและความพริ้วของผ้าที่เป็นสังฆาฏิรวมไปถึงรายละเอียดต่างๆนั้นทำได้ดีมากนี่ขนาดเป็นรูปหล่อโบราณนะครับ
เนื้อเป็นสำริดเงินสนิมเขียวหรือที่เรียกว่าสนิมหยก

ลักษณะทางพุทธคุณของพระตระกูลช่างในสมัยเชียงแสนนั้นเมตตามหานิยมค้าขายดี ร่มเย็นเป็นสุข อย่างที่คนเก่าคนแก่เขาเรียกว่า กินบ่อเสี้ยงครับ
องค์พระนั้นเป็นสำริดเงินสนิมเขียวครับอายุราว พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นฝีมือหล่อของช่างหลวงที่จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีเพื่อประกอบศาสนกิจภายในราชสำนักหรือหมู่ชนชั้นสูงครับและอาจถือได้ว่าเป็นงานสำริดยุคแรกๆของสมัยเชียงแสนครับสัญนิฐานจากการที่ตั้งอยู่บนฐานเขียงและลักษณะของผ้าสังฆาฏิที่ยังไม่แนบเนื้อครับ ยุคหลังๆมาจะดูปราณีตและแนบเนื้อกว่าครับ
( ข้อมูลจาก ค้นหาอดีตเมืองโบราณ ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม จัดพิมพ์ครั้ง แรก พศ 2538 )