วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

119: หลวงพ่อเชียงแสนน้อยองค์เขียว

หลวงพ่อเชียงแสนน้อย องค์เขียว

พระพักตร์


พระเกศ ด้านหลัง

เต็มองค์

118: หลวงพ่อทองคำเชียงแสน

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ IT Man
หลวงพ่อทองคำเชียงแสน เสด็จมาโปรดแล้ว...ขอบพระคุณครับ

ตอนนี้อยู่ร้านทำทอง...ไว้จะ upload ภาพให้ชมต่อไปเด้อ...

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ D-Crew

ผู้มากบุญ บารมี ก็เป็นเช่นนี้แล ประสงค์สิ่งใดๆพระก็ย่อมมาโปรด ...ขอโมทนาสาธุตวยเน้อ


ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Phoobes
โอ้... พระเชียงแสนทองคำ รอชมบารมีเต็มๆองค์ครับ


ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ IT Man
คงพร้อม upload ให้ชมพรุ่งนี้ครับ หึหึ แต่...
ความเห็นของผม: องค์พระน่าจะเป็นเนื้อเงินหรือสัมฤทธิ์ ช่างหลวงได้นำมาชุบทองแดงและเปียกทองคำตามลำดับแล้วค่อยฝังกรุในสมัย ร.5 อีกทีครับผม

ช่างทองบอกต่อว่า...กรรมวิธีเปียกทองคำเช่นนี้ คือหลอมละลายทองคำแท้ให้มีความเหลวเป็นน้ำแล้วนำองค์พระมาจุ่ม...เห็นมีเดือยล๊อกอะไรบางอย่างอยู่ใต้ฐานพระด้วย

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ somlatri

โมทนาสาธุครับ ท่านเคยสร้างไว้ และตอนนี้ก็กลับมาสู่ผู้สร้างดั่งเดิม

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สมาชิกธรรม
เมื่อถึงรอบ ก็คืนรัง.....สมปราถนายินดีค้วยนะครับ หากเสร็จทันก็ขอชมบารมีในวาระนี้ด้วยนะครับ.....


IT Man:
มีเรื่องแปลกเล็กน้อยแต่ยาวนิดนึง เกี่ยวกับการเลี่ยมพระหลวงพ่อทองคำเชียงแสนน้อย...
ผมได้รับพระเย็นวันศุกร์ ทำการแกะกรอบที่เลี่ยมพลาสติกเสร็จก็ประพรมน้ำทิพย์ผสมน้ำหอม 9 กลิ่น
แล้วขัดทำความสะอาดโดยเน้นส่วนพระพักตร์ เสร็จแล้วก็บันทึกภาพในตอนกลางคืนและในตอนเช้าวันเสาร์อีกรอบ

1. ตอนสายๆก็นำไปเลี่ยมจับขอบอย่างดี (ปกติต้องรอเป็นวันหรือทิ้งไว้ค่อยมารับในวันอื่น แต่วันนี้...ช่างบอกว่าจะทำให้ด่วนพิเศษเลย)
2. จากนั้นก็นำไปให้ร้านทองเพื่อพิจารณาเนื้อองค์พระ และจะทิ้งไว้ให้ช่างเลี่ยมกรอบเงินเลย...

ทราบข้อมูลเรื่องเนื้อพระแล้ว ผมก็บอกเขาว่าเดี๋ยวเย็นพฤหัสที่ 2 จะมารับไปก่อนนะ เพราะต้องเดินทางไปภูดานไหตอนเย็น
ช่างทองก็บอกว่า งั้นก็เสร็จพอดีสิ...ผมก็งง...ตาโตด้วย เพราะปกติพี่ท่านต้องใช้เวลาทำประมาณ 2 สัปดาห์


ที่จริงมีเรื่องเกี่ยวกับความฝันในคืนวันพฤหัส เรื่องพระพิมพ์พุทธานุภาพไร้ขีดจำกัดที่ได้รับในอดีต...ด้วย
(นรธ.บางท่านอาจรับรู้แล้ว) สรุปว่าแปลกแต่ก็ดีครับ หึหึ

ท่านนนต์กับผมเห็นว่า นรธ.ทุกคน ควรมีไว้สักหนึ่งองค์ครับ

หลวงพ่อทองคำเชียงแสน...ใต้แสงนิออนพระพิมพ์สีทอง...บันทึกภาพค่อนข้างยากมาก...
พระพักตร์ พระเศียร พระเกศ

เต็มองค์ (สิงห์หนึ่ง)

พระวรกาย

ใต้ฐานมีเดือย...

หลวงพ่อทองคำเชียงแสน...ใต้แสงอาทิตย์ยามเช้า


ขอบคุณท่าน ดร.นนต์ ที่แบ่งปันมาให้ศึกษา

เมื่อสำรวจตรวจสอบเนื้อ พิมพ์ ศิลปะ อิทธิคุณทางใน ฯลฯ แล้ว
ก็เหลืออย่างเดียวคือการทดลองอัญเชิญติดตัวเพื่อสัมผัสอิทธิคุณจริง โปรดอย่าพึ่งเชื่อในคำวิเคราะห์ต่างๆ...แต่จงเชื่อในสิ่งที่ได้สัมผัสด้วยตนเอง

ปล: ในความฝันของผมเมื่อคืนวันพฤหัสที่ผ่านมา...องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ได้เมตตาบอกผมว่า
"หากเป็นพระพุทธเจ้า ก็มีพลานุภาพไร้ขีดจำกัดทั้งนั้นแหละ..."
สาธุ...

117: พระพิมพ์เนื้อผงหลวงปู่ทวดปี 2497

พระพิมพ์เนื้อผงหลวงปู่ทวดปี 2497

พระพิมพ์เนื้อผง(ว่าน)หลวงปู่ทวด ที่นับเป็นที่นิยมในวงการพระในปัจจุบันได้แก่ พระเนื้อผงรุ่นแรกของวัดช้างไห้ ปี 2497 มีทั้งพิมพ์ใหญ่กรรมการ พิมพ์ใหญ่เอ, บี และซี และพิมพ์อื่นๆ ตามลำดับ พระอาจารย์ทิมเป็นผู้ปลุกเสก มีทั้งเนื้อสีดำ สีเทาออกเขียว สีเทาดำ สีเทาออกแดง ฯลฯ ดังภาพที่ผมนำมาให้ชมเป็นองค์สีดำกับสีเทาออกเขียว ราคาในวงการก็ว่ากันหลักหมื่นแก่ๆถึงหลักแสนกลางๆครับ

แต่ความจริงแล้วพระหลวงปู่ทวดนั้นมีการสร้างมาตั้งแต่ยุควังหน้ากันแล้ว ผู้ที่อธิษฐานจิตในครั้งโน้นว่ากันว่า คณะหลวงปู่ใหญ่เทพโลกอุดรทั้งคณะเป็นผู้อธิษฐานจิต รวมทั้งหลวงปู่โตด้วย แต่คนในภายหลังเข้าใจว่าเป็นพระปลอม เพราะไปอ่านเจอแต่ประวัติของพระวัดช้างไห้ ก็ว่ากันไป ผู้มีบุญและนักภาวนาจึงได้รับพระดีกันทั่ว ก็ลองศึกษากันดูเอาเองนะครับ ผมไม่มีคำอธิบายไปมากกว่านี้

ปล.พระชุดนี้ ท่านเสด็จมาเพื่อวาระพิเศษในอนาคตกระมังครับ ส่วนพลานุภาพนั้นพระทั้งสององค์ดึงมือผมหมุนไปข้างหน้าขึ้นบนไปอยู่ในระดับหน้าผาก ซึ่งจะแตกต่างจากพระสมเด็จวัดระฆัง ผมตรวจสอบสองครั้งก็เป็นเหมือนเดิม จึงเป็นพระดีที่ผู้คนใฝ่หากัน แต่ของเลียนแบบก็มีมากตามมาด้วย ขอให้โชคดีนะครับ

ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
30 มกราคม 2555




116: พระซุ้มกอหนึ่งในยอดเบญจภาคีเนื้อผง

พระซุ้มกอหนึ่งในยอดเบญจภาคีเนื้อผง
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนก กรุทุ่งเศรษฐี กำแพงเพ็ชร อายุมากกว่า 600 ปี เป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีเนื้อดินผง ที่ฤาษีเป็นผู้อธิษฐานจิต มีคำจารึกในแผ่นทองคำว่า "มีกูไม่จน" จึงขึ้นชื่อในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์มั่งมีเงินทอง จึงเป็นที่ต้องการของผู้คนจำนวนมาก ราคาก็ว่ากันตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักล้าน ก็ว่ากันไป ข้อสังเกตพระตระกูลกำแพงเพ็ชรก็คือ จะมีคราบราดำและแร่มะขาม มีความมันของเนื้อดิน และคราบดินนวล ค่อยๆสังเกตดูนะครับ

ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
28 มกราคม 2555




115: สุดยอดพระหูยานลพบุรี

สุดยอดพระหูยานลพบุรี หนึ่งในยอดขุนพล
พระชุดเบญจภาคีเนื้อชิน เป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องของเมืองไทย พระหูยานลพบุรีชุดนี้ ก็นับเป็นหนึ่งในยอดขุนพลเบญจภาคีเนื้อชินที่ทหารและตำรวจแสวงหา พระหูยานมีทั้งชินเงินและเนื้ออื่นๆ แต่ที่นิยมสูงสุดคือเนื้อชินเงินดังพระชุดนี้ ข้อสังเกตของพระเนื้อชินเงิน จะต้องมีคราบปรอทสีเงินยวงปรากฏอยู่บนพื้นผิวขององค์พระไม่มากก็น้อย คราบปรอทนี้ต้องใช้เวลาเกิดขึ้นนับเวลาเป็นร้อยๆปีขึ้นไป ดังนั้นพระใหม่ไม่สามารถทำเทียมขึ้นมาได้ หากเลียนแบบก็น่าจะเป็นการเคลือบสี แต่ลักษณะจะไม่เหมือนกัน

พระหูยานลพบุรีองค์แรกนี้ กำลังเสด็จไปโปรดผู้หมวดศุภชัยที่อุดรธานี ก็ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ ส่วนองค์ที่สองเป็นคู่แฝดกันที่ตามมาในภายหลัง และองค์ที่สามเป็นพระที่ถูกใช้งานมาอย่างช่ำชอง เห็นเนื้อเงินออกเขียวที่ดูมีเสน่ห์อีกลักษณะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พระหูยานชุดนี้ โดยเฉพาะสององค์แรก เมื่อแรกมือสัมผัสพลานุภาพวิ่งเข้าหาและวิ่งไปที่ศรีษะอย่างรวดเร็วและหนักหน่วง สมแล้วที่ผู้คนแสวงหากัน องค์ที่อยู่กับผมสององค์นี้ ไม่รู้ท่านจะเสด็จไปอยู่ที่ใดบ้างก็ไม่รู้ หรือ"พระเลือกคน" หรือท่านจะอยู่เพื่อเป็นวิทยาทานในหนังสือก็ไม่รู้... ลองชมดูนะครับ
ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
28 มกราคม 2555







114: พระดีที่เซียนเมินและปริศนาหลวงปู่โต

พระดีที่เซียนเมิน และปริศนาหลวงปู่โต
เมื่อคืน มีญาติธรรมท่านหนึ่งคือ สิบเอกอารี แห่งค่ายสุรนารี คุณอารีเป็นศิษย์หลวงตาพระป่ากรรมฐานรูปหนึ่งแถบเมืองเก่าหนองคาย(สายบำเพ็ญยังไม่เข้านิพพาน) เขาได้เดินทางมาพบผมเป็นครั้งที่สอง หลังจากพบกันครั้งแรกเมื่ออาทิตย์ก่อนโน้น (ครั้งแรกเขาสุ่มทางมาบ้านผมตามกระแสคลื่นบุญ) และในครั้งนี้ เขาได้นำพระสมเด็จด้านหลังผนึกแผ่นลายมุกมาให้ผมดูด้วยอาการปีติ พร้อมกับเล่าเรื่องราวให้ผมฟังว่า
"พระสมเด็จองค์นี้ ผมได้รับสมัยเรียนอยู่โรงเรียนการกีฬาสุพรรณบุรีเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว อาทิตย์ที่แล้ว ผมนำไปให้หลวงตาดู เมื่อท่านนำไปกำไว้ในมือและนั่งหลับตาแว็บหนึ่ง ท่านก็บอกว่า รู้ไหมนี่คือพระสมเด็จที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ห้า โดยช่างสิบหมู่เป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย หลวงปู่โตเป็นผู้อธิษฐานจิต และรู้ไหมว่า นอกจากหลวงปู่โตแล้วยังมีหลวงปู่ศรีเอกวงศ์ ผู้เป็นพระอาจารย์ได้ร่วมอธิษฐานจิตด้วย"
จากคำบอกเล่าของคุณอารีนั้น สอดคล้องกับประวัติการสร้างพระและวัตถุมงคลจำนวนมาก เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในพิธีการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะพระสมเด็จในลักษณะพิเศษต่างๆจำนวนมาก ได้ถูกสร้างขึ้นทั้งในสายวังหลวง วังหน้า และวังหลัง บางครั้งไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสายวังใดเป็นผู้สร้าง ผมจึงขอเรียกรวมๆว่า "พระสายวัง" การสร้างส่วนใหญ่จึงอยู่ในการดูแลของกรมช่างสิบหมู่ และรวมถึงสายเจ้าคุณกรมท่าเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง องค์ผู้อธิษฐานจิตหลักในช่วงเวลานั้น (พ.ศ. 2411-2415) ก็คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รวมถึงองค์อภิญญาในยุคนั้นอาทิเช่น สมเด็จกรมปรวเรศฯ หลวงตาแสง หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อเงิน หลวงปู่บุญ ฯลฯ และว่ากันว่า คณะหลวงปู่ใหญ่เทพโลกอุดร และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาร่วมในพิธีอธิษฐานจิตด้วย และมีข้อมูลใหม่มาว่า "หลวงปู่ศรีเอกวงศ์" แห่งนครหนองคาย ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ปริศนาแห่งองค์ปู่ศรีเอกวงศ์นี้ ว่ากันว่า ท่านคือ "ปู่ขาว" ผู้กำลังมาบำเพ็ญในรูปญาณบารมี ดังที่หลวงตาท่านกล่าวถึง และจากการศึกษาของผมและจิตสำนึกบางอย่าง ผมรับรู้มาว่า หลวงปู่โตท่านได้เสด็จออกธุดงค์ในช่วงสมัยรัชกาลที่สามออกไปไกลถึงประเทศลาวและกัมพูชาเป็นเวลายาวนานถึง 20 ปี ผ่านเส้นทางดงพญาไฟไปแถบอีสานใต้ทะลุถึงประเทศเขมร บางครั้งเสด็จไปในแถบอีสานกลางผ่านเส้นทางกาฬสินธุ์ อาจบำเพ็ญแถบภูผาผึ้ง ภูดานไห อ.กุฉินารายณ์ แถบภูค่าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ และเลยไปแถบหนองคาย มุกดาหาร นครพนม เลย และข้ามฝั่งไปยังประเทศลาวจนอาจเลยไปถึงเวียดนามก็ได้ ดังนั้นเป็นไปได้ว่า ท่านคงได้พบกับหลวงปู่ศรีเอกวงศ์ที่หนองคาย ซึ่งเรื่องนี้มันเกินวิสสัยของผม แต่จากร่องรอยดังกล่าวจึงเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นความจริง ก็ลองพิจารณาตามผมไปนะครับ หลายๆเรื่องกำลังผนวกให้ผมได้รับรู้มากขึ้น แล้วท่านคิดว่าอย่างไร
อนึ่ง คุณอารีได้นำเรื่องราวของผมไปบอกหลวงตา และหลวงตาได้ฝากบอกบางอย่างมาถึงผม หากมีบุญสัมพันธ์กันก็คงได้พบกันเมื่อกาลอันควร ผมน้อมกราบพระหลวงตาด้วยธรรมปีติครับ ทราบว่า ตอนนี้หลวงตาได้อยู่ในรูปของสามเณรด้วยกิจการบำเพ็ญในรูปแบบหนึ่ง หากอยู่ในรูปพระสงฆ์อาจไม่สามารถบำเพ็ญกิจบางอย่างได้ (เป็นความเห็นส่วนตัวของผมครับ)
ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
27 มกราคม 2555

สมบัติของ สิบเอกอารี

สมบัติของ คุณสมฤดี สิปปภากุล (คุณนายที่บ้านครับ)


ปล. พระชุดนี้มีหลากสีอาทิเช่น สีดำ แดง ชมพู เขียว น้ำเงิน เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

113: เหรียญเจ้าสัวพิมพ์หลวงปู่บุญ

เหรียญเจ้าสัวพิมพ์หลวงปู่บุญ

เหรียญเจ้าสัว พิมพ์ซุ้มกระจัง (เหมือนของ: IT Man) หลวงปู่บุญ ขันธโชติ แห่งวัดกลางบางแก้ว รุ่นแรกสร้างปี พ.ศ. 2443 นับว่าเป็นเหรียญที่ทรงคุณค่าและราคาแพงมาก ว่ากันที่หลักล้านขึ้นไป เพราะชื่อเสียงของเหรียญรุ่นนี้เด่นดังในการค้าขายและมั่งมีเงินทองจนกลายเป็นเจ้าสัวไปในพริบตา เหรียญที่ลงรักปิดทองอย่างนี้พบน้อยมากๆ อายุ 102 ปี จะมีความเก่าน้อยกว่าพระสมเด็จวัดระฆังเล็กน้อย

พระองค์นี้ บังเอิญผมได้ดูเหรียญเจ้าสัวองค์สีทองของท่านสมาชิกธรรม(คุณพิเชฐ)เมื่อวาน แล้วเกิดสะกิดใจนิดหน่อย แต่มันกลับส่งผลทำให้ผมต้องไปอัญเชิญท่านมาจากกองพระจำนวนมากมายนับหมื่นองค์ ไม่รู้เป็นอะไรทำงานอยู่ดีๆ จิตมันอยากจะออกไปดูแผงพระเสียแล้ว คลื่นพลังก็เข้ามาอย่างหนักหน่วง อ๋อมันก็เป็นเช่นนี้นี่เอง พระองค์นี้มีพลังมากดึงมือผมหมุนขึ้นไปข้างหน้าเหนือศรีษะ พลังของท่านเป็นเช่นนี้ ลองชมดูนะครับ มีเงินพันล้าน ใช่ว่าจะหามาได้ง่ายๆ
ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
25 มกราคม 2555








IT Man/ ขออัญเชิญพระพิมพ์วังหน้า พิมพ์ซุ้มกระจังบุเงิน หรือที่เราเรียกทั่วไปว่า พิมพ์เจ้าสัว ขออนุญาตไม่บอกนามผู้อธิษฐานจิตนะครับ

112: ประมูลพระพุทธรูปเชียงแสนเพื่อสร้างศาลาและหอฉัน

ประมูลพระพุทธรูปเชียงแสนเพื่อสร้างศาลาและหอฉันวัดภูดานไห
ผมขออาราธนาพระพุทธรูปเชียงแสนหรือเชียงรุ้ง เนื้อสัมฤทธิ์สนิมเขียว หน้าตัก 1 นิ้ว อายุมากกว่าเจ็ดร้อยปี พลานุภาพสูงไร้ขีดจำกัด เหมาะสำหรับห้อยติดตามตัวได้ ผมคัดเอาองค์ที่รักลำดับต้นๆ เพื่อมาให้ญาติธรรมหรือผู้ที่สนใจ ได้ร่วมทำบุญเพื่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมและศาลาหอฉัน วัดภูดานไห เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา โดยขอเปิดราคาบุญที่ 10,000 บาท จึงขออนุโมทนากับท่านผู้ใจบุญทุกท่านครับ

ปล. ผู้ประมูลหรือจะร่วมทำบุญให้ทำบุญผ่านบัญชีของคุณแม่ชมได้เลยนะครับ

ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
25 มกราคม 2555



พระเชียงแสนน้อย แต่พลานุภาพมากที่สุด (องค์เขียวธรรมบารมี) องค์ประมูล



ชุดสุดรัก แต่ขอแบ่งองค์เขียวธรรมบารมี เพื่องานบุญครับ

หมายเหตุ: มีผู้ประมูลสองท่านคือท่านถวัลย์และท่านศรุต โมทนาสาธุครับ

111: พระพุทธรูปเชียงแสนแสนมหัศจรรย์

ผมเองคงมีความผูกพันกับการสร้างพระมาเกือบทุกยุคทุกสมัยกระมัง หลวงพ่อเหรียญชัย มหาปัญโญ แห่งถ้ำสุมณฑาก็บอกเป็นนัยๆ หลวงตาอรุณก็บอกมีมากมาย ใครๆก็บอกมาเช่นนั้น วันนี้พระพุทธรูปเชียงแสนเสด็จมาอีกหลายองค์ มีทั้งองค์ขนาดหน้าตัก 1 นิ้ว 4.5 นิ้ว และ 5 นิ้ว มีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์ นวโลหะ ทยอยหลั่งไหลมา มีเหตุให้ต้องไปอัญเชิญมาทุกที (มีสื่อบางอย่างบอกบ้างเป็นบางคราว) ก็แปลกดี ไหนๆจริตของผมมันก็เป็นเช่นนี้ ก็ขอให้มาเสียให้พอ เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่คนรุ่นหลัง ผมจึงนำมาออกเผยแพร่ โดยมิได้มุ่งหวังให้ผู้ใดลุ่มหลง หรือเพื่อชื่อเสียงเงินทองแต่อย่างใด ให้ศึกษาด้วยสติและปัญญาพิจารณาไปพร้อมๆกันนะครับ เขาสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร
ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
25 มกราคม 2555
เนื้อนวโลหะ(สัมฤทธิ์) หน้าตัก 1 นิ้ว
เนื้อเงินสัมฤทธิ์ผิวกลับดำ หน้าตัก 1 นิ้ว
เนื้อสัมฤทธิ์สนิมเขียว หน้าตัก 4.5 นิ้ว พิมพ์สิงห์สาม
เนื้อสัมฤทธิ์ออกทองเหลือง หน้าตัก 5 นิ้ว พิมพ์สิงห์หนึ่ง

172. พระเชียงแสน ขนาดห้อยคอ
กระทู้นี้ขอนอกเรื่องไม่เกี่ยวกับพระเครื่องสายวัง
ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงพระเชียงแสนขนาดห้อยคอ ที่พบมีมากกว่า 30 พิมพ์ ในบางพิมพ์ไม่เหมาะและผู้เขียนมองแล้วไม่ถูกใจถึงไม่ได้เก็บมา ที่จะนำมากล่าวถึงมีเพียง 20 กว่าพิมพ์ พระเครื่องห้อยคอสมัยเขียงแสนเป็นพระเครื่องห้อยคอขนาดหน้าตัก 6 หุนมีจำนวนน้อยพิมพ์ ส่วนใหญ่จะมีหน้าตักหนึ่งนิ้วเป็น และที่ใหญ่กว่านี้มีน้อยมาก พระเชียงแสนที่พบมีพุทธานุภาพ ความแรง " ไร้ขีดจำกัด "
ยุคอาณาจักรการปกครองในสมัยต่างๆ หากย้อนถอยหลังกลับไปยกเว้น เจ้าประคุณ หลวงพ่อ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต ยังไม่พบยุคสมัยใดที่มีพระเครืื่องห้อยคอที่มีผู้อธิษฐานจิตที่มีพุทธานุภาพเทียบเท่าความแรงระดับ "ไร้ขีดจำกัด" จึงกล่าวได้ว่าน่าสนใจอย่างยิ่งที่จะมีไว้ครอบครองไว้ในกรุส่วนสักชุด หรือ มีไว้สักองค์ก็ยังดีกว่าไม่มี
อาณาจักรเชียงแสนนั้นแผ่ปกคลุมอาณาบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน ในพื้นที่ประเทศลาวบางส่วน พื้นที่ประเทศพม่าบางส่วน และพื้นที่จีนตอนใต้บางส่วน พื้นที่อันไพศาลนั้นก่อให้เกิดความหลากหลายของเชื้อชาติ เทคโนโลยี เชิงช่างชั้นสูงศิลปแห่งยุคสมัยที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้นจากโบราณ ก่อให้เกิดการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมเข้ากับเทคนิคการหล่อโลหะอันน่าทึ่ง การรักษารูปร่างพิมพ์ทรงและลวดลายที่ละเอียดอ่อนได้แสดงออกถึงเชิงช่างที่มีฝีมือชั้นครูของชาวเชียงแสน จากพระเครื่องที่มีขนาดเล็กที่ได้พบ
องค์พระ...เป็นสำริดเงินสนิมเขียว สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นฝีมือหล่อของช่างหลวงที่จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีเพื่อประกอบศาสนกิจภายในราชสำนักหรือหมู่ชนชั้นสูง สร้างได้ปราณีต
พระเครื่องขนาดห้อยคอที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงนี้ประกอบด้วยการสร้าง ดังนี้
พระเครื่องขนาดห้อยคอที่พบมีอายุระหว่าง 713 - 733 ปี รวมระยะเวลาการสร้าง ประมาณ 20 ปี คือ ระหว่าง พ.ศ.1821 ถึง พ.ศ.1841
วิวัฒนาการขององค์พระเครื่องขนาดห้อยคอของอาณาจักรเชียนแสนที่พบ มีการลอกเรียนแบบแม่พิมพ์คล้ายหรือเหมือนกัน และมีการพัฒนาการที่แตกต่าง 4 ลักษณะ
1. พระเครื่องห้อยคอ องค์พระ...ก้นตัน
2. พระเครื่องห้อยคอ องค์พระ...ก้นไม่ตัน
3. พระเครื่องห้อยคอ องค์พระ...ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ)
 
4. แบบพิเศษ ไม่เข้าเงื่อนไข ข้อหนึ่งถึงข้อสาม
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 1
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
  ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 2 ก้นไม่ตัน องค์นี้คนขายมือซนขัดองค์พระ...ทำให้เห็นเนื้อเงินสำริด
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและใต้ฐานพระทาสีแดง ทับบนผงพุทธคุณดังรูป
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 2
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 2 ก้นไม่ตัน
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและใต้ฐานพระทาสีแดง ทับบนผงพุทธคุณดังรูป
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 3 ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 2 ก้นไม่ตัน
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 4
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 5
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
 พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 6
พระอุปคุตจกบาตร(พระบัวเข็มจกบาตร) พิมพ์ที่1
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 7
พระอุปคุตจกบาตร พิมพ์ที่ 2
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 8
พระอุปคุตสะดือทะเล
ลักษณะที่ 4 แบบพิเศษ ไม่เข้าเงื่อนไข ลักษณะที่ 1, 2 และ 3 (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
  ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 9
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 10
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (สภาพองค์พระเดิมๆ ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด)
ลักษณะที่ 1 ก้นตัน (ล้างทำความสะอาด)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 11
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 12
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 13
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 14
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 15
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 16
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 17
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 18
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 19
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 20
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ พระร่วง แบบที่ 1
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 21
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ พระร่วง แบบที่ 2
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 22
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ พระร่วง แบบที่ 3
 
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 23
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ พระสังกัจจายน์
พระสมัยเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 24
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ ปางห้อยพระบาท(ขวา)
พระเชียงแสนขนาดห้อยคอ พิมพ์แบบที่ 25
ลักษณะที่ 3 ก้นไม่ตัน อุดผงพุทธคุณที่ฐานพระ...(ก้นพระ) ผิวองค์พระที่พบจะเป็นกระหลั่ยทองและใต้พื้นฐานพระทาสีแดง
พิมพ์ ปางประทานพร(นั่ง)
พระบูชาสมัยเชียงแสน(ของแท้)โบราณสืบต่อๆกันมาถึงปัจจุบันมีผู้นิยมบูชา อันเนื่องมาจากมีพุทธคุณแรงระดับ "ไร้ขีดจำกัด" มีราคาเช่าหาแพง + ความเก่า
ผู้เขียนจึงขอแนะนำพระเชียงแสน ขนาดห้อยคอมีหน้าตักประมาณ 1 นิ้ว ในกระทู้นี้มีทั้งหมด 25 พิมพ์ ซึ่งของจริงมีมากกว่านี้ จะบูชาที่ห้องพระหรือนำห้อยแขวนคอดีมาก ดีกว่าพระเครื่องดังๆของเมืองไทยที่เช่าหากันหลักหลายๆล้าน มีพุทธคุณรอบด้านครบเครื่อง พบที่ไหนเหมือนให้เก็บไว้ก่อน ความสงสัยเอาไว้ที่หลัง ขอให้โชคดีครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม
We have been collectors of Asian antiques for too years, especially Buddhist art. Although our inventory comes primarily from Southeast Asia, it also includes eclectic pieces from China, Tibet, Indonesia and Central Asia. We have tried to maintain the highest esthetic level in our purchases, and we feel that discriminating collectors will value these objects as we have. It is now our pleasure to find new homes for these unique piecesWe hope you enjoy viewing the site
พระยืนศิลปแบบหริภุญไชยทวาราวดี เนื้อสำริดหล่อโบราญสนิมเขียว อายุราวพุทธศตวรรธที่ 11
Thawarawadee Buddha immage has bilding from bronze Made by old haripunchai technical 
Age crame to 8th to 11th centuries
ศิลปแบบทวาราวดี
อาญาจักรหริภุญชัยนั้นมีความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ยาวนาน กินอาณาบริเวณไปกว้างใหญ่ไพศาล เป็นบ้านเป็นเมืองมาก่อนเชียงใหม่เสียอีก ด้วยความยิ่งใหญ่ของอาญาจักรหริภุญชัยนั้น นับเนื่องมาจากความสำคัญของชัยภูมิที่มั่นเป็นปราการทางด้านทิศเหนือของแค้วนกำโพช ที่มีศุนย์กลาวการปกครองอยู่ที่เมือง ลวปุระหรือลพบุรีในสมัยนี้ ซึ่งได้ส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นราชธิดามาครองเมืองนับเป็นการแสดงให้เห็นความสำคัญของเมืองนี้ได้เป็นอย่างดี แบบอย่างศิลปของจังหวัดลำพูน สามารถแบ่งแยกได้หลากหลายแขนง ขึ้นอยู่กับการรับอิทธิพลมาจากศิลปะในแบบต่างๆ เช่น ศิลปะอินเดีย ศิลปะศรีเกษตรแบบพุกามศิลปะแบบบายน และ พนมโบว์กุกแบบลพบุรี และศิลปะล้านนาที่พัฒนาและเลื่อนไหลซึมซับมาจากพื้นถิ่นเอง โดยอายุของพระพิมพ์ที่สร้างจากเมืองหริภูญไชย นั้นสามารถคาดการณ์อายุได้จากการศึกษาศิลปะของพระแต่ละรูปแบบ ชนิดและแต่ละองค์ที่สร้างขึ้นเช่นพระเปิมพระคง พระบาง พระนารายณ์ทรงปืนนั้นชัดเจนว่าได้รับอิทธิพลจากลพบุรี อายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 พระพิมพ์ศิลปะนี้ปรากฏ พระพิมพ์ปางสมาธิ ปางมารวิชัย และประทับยืนปางประทานพร พระพักตร์กว้างมน หรือบางพิมพ์ดูเป็นรูปสี่เหลี่ยมตามแบบพระพุทธรูปทวารวดี พระเนตรอูมโปน พระนาสิกเป็นสัน แสดงขอบจีวรเป็นเส้นนูนรอบคอ พระพุทธรูปและพระสาวกโดยมากมีประภามณฑลรอบเศียร พระพิมพ์ที่แสดงศิลปะแบบทวารดีนี้น่าจะมีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 พระพิมพ์สกุลช่างหริภูญไชยศิลปะทวารดีนี้ได้แก่ พระกวาง พระกล้วย และพระยืนวัดมหาวัน
เทวรูปสมัยหริภุญไชยราวพุทธศตวรรธ ที่ 13 ศิลปแบบลพบุรี
ต่อมาเป็นพระพุทธรูปและเทวรูปศิลปะลพบุรี
เฉลี่ยอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
พระพิมพ์ศิลปะนี้ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะเขมร แบบนครวัด ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15 พระพิมพ์ศิลปะนี้ประกออบด้วยพระพุทธรูปสามองค์นั่งเรียงกันองค์กลางมีขนาดใหญ่กว่า องค์ด้านข้าง ลักษณะพระพักตร์แบบสี่เหลี่ยม มักประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เช่น เทริด ทองพระกร พระพิมพ์ศิลปะนี้ประกอบด้วย พระสาม กรุวัดดอนแก้ว พระสามกรุท่ากาน พระสิกขี พระป๋วย พระนารายณ์ทรงปืนเป็นต้น และจากบทความนี้เป็นการสันนิษฐานอายุของพระพิมพ์ จากการศึกษาศิลปะแบบต่างๆแต่ก็อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนบ้างนะครับในแง่ของอายุของพระพิมพ์ต่างๆที่อาจน้อยกว่าอายุที่คาดคะเน นอกจากนั้นการสร้างขึ้นมาในภาพหลังโดยเกจิอาจารณ์ แต่ทำแม่พิมพ์ขึ้นโดยล้อแบบศิลปะแบบต่าง ๆ เช่น ศิลปะแบบอินเดีย และศิลปะแบบพุกาม ส่วนเรื่องของอายุที่อาจจะเก่าแก่กว่าที่คาดคะเนนั้น ไม่น่ามีความเป็นไปได้เนื่องจาก อายุที่คาดคะเนนั้นเป็นยุคแรกของการสร้างพระพุทธรูปของศิลปะแขนงนั้นๆ เช่น พระคงที่สร้างขึ้นในยุคหลัง แบบวัดช้างค้ำ และแบบวัดดอยคำ สร้างแบบศิลปะอินเดียจริง แต่เป็นการสร้างล้อแบบพระคง กรุลำพูน ที่มีความเก่าแก่กว่าโดยเดิมอยู่แล้ว
พระบูชาเชียงแสนสิงห์สามขนาดหน้าตักกว้าง 6 หุนเนื้อสำริด
ChangSan Style Buddha Immage Made from Bronze Has Age 700 Year
พระบูชาเชียงแสนสิงห์หนึ่งขนาดหน้าตักกว้าง 8 หุน(1")เนื้อสำริด
ChangSan Style Buddha Immage Made from Bronze Has Age 700 Year
Histry of the Buddha Image Bilding in Buddha emperer
May be that Dvaravati culture developed from prehistoric culture which had existed in the alluvial plains of central Thailand. Certainly the spread of Buddhism into the area during the 4th century was a unifying force. Dvaravati art indicates that Hinayana Buddhism was first introduced.

A number of Buddha statues showing marked Indian influence from the Amaravati-Gupta-post Gupta styles have been found. These statues from the 6th to 8th centuries period are made of stone, bronze, stucco, and terra cotta. Later, influences from Srivijaya art spread from the south through the central region into the northeast and Mahayana Buddhism took strength. Many statues of the Bhodhisatavas dated 8th to 11th centuries were found.

Finally the popular belief reverted to inayana Buddhism once more. 
Archaeological field projects are bringing to light knowledge of the Dvaravati lifestyle. Dvaravati pottery displays distinct incised and applies decorations. Personal effects such as ear-rings, beads, bangles, rings, bells, etc., have been found, again showing influences from India. Coins and medallions have also been unearthed, indicating advanced civilization. Depicted on these are animal figures and symbols representing fertility, the life elements and the Buddhist belief.
The decline of the Dvaravati culture is subject to further study. The popular theory is that it disintegrated under the invasion of foreign armies. More acceptable is the theory that external cultural influences took precedence and absorbed Dvaravati into oblivion. During the 12th century, some towns were abandoned due to changing water courses. Others continued to flourish into the Ayudhaya period, being built upon until little of the original Dvaravati remained.
During the 8th to 9th centuries, Srivijaya art was at its height in the South.


Scholars differ in Their theories about the seat of the great Srivijaya empire. Whenever that may be, it become the vast trading centre in Southeast Asia. It also created a cultural system in the southern part of present day Thailand during the 3rd to 14th centuries. Archaeological evidence of this period may be seen in the remains of a well organized irrigation system is Songkhla. Artifacts found in the Thailand and dating back to this trading period range from Phoenician coins to Roman beads.
ข้อมูลเพิ่มเติม

พระบูชาเชียงแสน
อาณาจักรเชียงแสนนั้นแผ่ปกคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่เชียงแสนไปจนถึงเชียงใหม่ พะเยา ลำปาง น่าน เชียงคำ งาว พื้นที่อันไพศาลนั้นก่อให้เกิดความหลากหลายของเชื้อชาติเทคโนโลยี เชิงช่างชั้นสูงศิลปแห่งยุคสมัยที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้น ได้ก่อให้เกิดการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมเข้ากับเทคนิคการหล่อโลหะ อันน่าทึ่ง การรักษารูปร่างพิมพ์ทรงและลวดลายที่ละเอียดอ่อนนั้นได้แสดงออก ถึงเชิงช่างที่มีฝีมือชั้นครูของชาวเชียงแสนได้เป็นอย่างดี

พระองค์นี้ได้มาจากพระครู ที่เชียงรายครับเมื่อมีโอกาศไปเชียงรายเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมานี่เอง
องค์พระนั้นประทับนั่งปางมารวิชัยสองพระเนตรนั้นหลุบต่ำแลดูสงบสะท้อนถึงความร่มเย็นแห่งยุคสมัย
ความละเอียดของพิมพ์นั้น ทำเอาผู้ส่องถึงกับอึ้งกับความละเอียดขนาดปรากฏรอบเล็บมือและความพริ้วของผ้าที่เป็นสังฆาฏิรวมไปถึงรายละเอียดต่างๆนั้นทำได้ดีมากนี่ขนาดเป็นรูปหล่อโบราณนะครับ
เนื้อเป็นสำริดเงินสนิมเขียวหรือที่เรียกว่าสนิมหยก

ลักษณะทางพุทธคุณของพระตระกูลช่างในสมัยเชียงแสนนั้นเมตตามหานิยมค้าขายดี ร่มเย็นเป็นสุข อย่างที่คนเก่าคนแก่เขาเรียกว่า กินบ่อเสี้ยงครับ
องค์พระนั้นเป็นสำริดเงินสนิมเขียวครับอายุราว พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นฝีมือหล่อของช่างหลวงที่จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีเพื่อประกอบศาสนกิจภายในราชสำนักหรือหมู่ชนชั้นสูงครับและอาจถือได้ว่าเป็นงานสำริดยุคแรกๆของสมัยเชียงแสนครับสัญนิฐานจากการที่ตั้งอยู่บนฐานเขียงและลักษณะของผ้าสังฆาฏิที่ยังไม่แนบเนื้อครับ ยุคหลังๆมาจะดูปราณีตและแนบเนื้อกว่าครับ
( ข้อมูลจาก ค้นหาอดีตเมืองโบราณ ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม จัดพิมพ์ครั้ง แรก พศ 2538 )