วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

177: คำบูชาพระกริ่งปวเรศ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
คำขอขมาพระรัตนตรัย
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
อะหัง วันทามิ อะธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย
ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม
บูชาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าหรือพระกริ่งปวเรศ
นโม ภควเต ไภษชฺยคุรุไวฑูรฺยปฺรภราชาย ตถาคตาย อรฺหเต สํมฺยกฺสมฺพุทฺธาย ตทฺยถา โอม ไภษชฺเย ไภษชฺเย ไภษชฺย สมุทฺคเต สฺวาหา
นโม ภควเต ไภษชฺยคุรุไวฑูรฺยปฺรภราชาย ตถาคตาย อรฺหเต สํมฺยกฺสมฺพุทฺธาย ตทฺยถา โอม ไภษชฺเย ไภษชฺเย ไภษชฺย สมุทฺคเต สฺวาหา
นโม ภควเต ไภษชฺยคุรุไวฑูรฺยปฺรภราชาย ตถาคตาย อรฺหเต สํมฺยกฺสมฺพุทฺธาย ตทฺยถา โอม ไภษชฺเย ไภษชฺเย ไภษชฺย สมุทฺคเต สฺวาหา
บูชาพระปัจเจกกะพุทธเจ้าหรือพระคาถาเงินล้าน
นาสังสิโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม มิเตพาหุหะติ พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม
สัมปะติจฉามิ เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤา ฤา
บทกรวดน้ำ
ข้าพเจ้าขออัญเชิญเทวดาที่สถิตในพระบรมสารีริกธาตุทั่วอนันตจักรวาล ขออัญเชิญเทวดาที่สถิตในพระธาตุพระอรหันต์ทั่วอนันตจักรวาล ขออัญเชิญท่านท้าวเวสสุวัณ, พระแม่ธรณี, พระยามัจจุราชโปรดมาเป็นพยานบุญ เพื่อน้อมถวายบุญนี้ บูชาคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณพระโพธิสัตว์ คุณบิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ พรหมมา-เทวาอารักษ์ทั้งหลาย ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ ไปให้ทุกรูปทุกนามทั้ง 20 ชั้นพรหมโลก 6 ชั้นเทวะโลก มนุษย์โลก มารโลก ยมโลก อบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ในหมื่นโลกธาตุกับอีกแสนจักรวาลพิภพ ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงโมทนาสาธุในส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์และความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดนี้ ตราบจนเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญฯ
พุทธังอนันตัง ธัมมังจักรวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจโยโหนตุ
พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า
พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า भैषज्यगुरु เป็นพระพุทธเจ้าที่สำคัญพระองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาอุตตรนิกาย ทรงมีพระนามอีกหลายพระนามอาทิเช่น พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาส, พระมหาไวทยราชย์, พระทวาทศปณิธานราชย์ ทรงประทับ ณ. ไวฑูรยประภาพุทธเกษตร ในมณฑลหนบูรพทิศ พร้อมด้วยพระอัครสาวก อันได้แก่พระสุริยประภามหาโพธิสัตว์, พระจันทรประภามหาโพธิสัตว์ และเทวบุรุษทั้ง ๑๒
ใน “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตมูลปณิธานสูตร” ได้แสดงไว้ว่า “นับพุทธเกษตรแต่สหาโลกธาตุไปทางมณฑลหนบูรพาได้ ๑๐ เมล็ดทรายในมหาคงคานที มีโลกธาตุหนึ่งนามว่าวิสุทธิไวฑูรยะ เป็นที่ประทับแห่งพระผู้มีพระภาคอันมีพระนามว่า พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต พระฉัพพรรณรังสีแห่งพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ยังให้เกิดความสำเร็จขึ้นแล้ว ทั้งในทางโลกียะและโลกุตระ และวิสุทธิเกษตรแห่งนั้นสำเร็จแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์”
ใน “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชสัปตพุทธมูลปณิธานปูชานิสังสสูตร” ได้พรรณนาลักษณะแห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าไว้ว่า “พระวรพักตร์แฝงไว้ด้วยพระเมตตา พระวรกายสง่างาม พระฉวีสีคราม พระหัตถ์ซ้ายทรงถือเครื่องพระโอสถหรือแก้วจินดามณี พระหัตถ์ขวาทรงกระทำตรีโลกธาตุมุทรา ทรงประทับสมาธิวัชระ เหนือปัทมอาสน์ ใต้ปัทมอาสน์นั้นแวดล้อมด้วย ๑๒ เทวบุรุษ อันเทวบุรุษทั้ง ๑๒ นี้ จักคอยนำปวงเทวาแลอสูร บริรักษ์ชนผู้รำลึกถึงพระนาม และบูชาพระตถาคตเจ้านาม ไภษัชยคุรุ” นอกจากนี้ยังมีที่แสดงว่า พระหัตถ์ทรงสถูปพระโอสถ พระหัตถ์ขวาทรงกระทำทานมุทรา
สมัยเมื่อพระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีนั้น ทรงตั้งมหาปณิธาน เพื่อโปรดสรรพชีวิต ๑๒ ประการ ดังนี้

๑. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ กายาจงทอแสง สาดส่อง อนันตโลกธาตุ ทั้งยังกอปรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ สง่างาม ทั้งสรรพชีวิตทั้งปวงจงเป็นเช่นดั่งเรา

๒. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ วรกายดุจแก้วไพฑูรย์ นอกในสุกใส บริสุทธิ์ไร้มลทิน โอภาสยิ่งใหญ่ บุญกุศลสูงล้ำ กายามั่นคง ข่ายระฉัพพรรณรังสีเรืองรองเหนือตะวันจันทรา อันจักยังให้สรรพชีวิต สมปรารถนาในสรรพกิจทั้งปวง

๓. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จงถึงพร้อมด้วยปัญญาอันไร้ประมาณ อันจักยังให้สรรพชีวิตถึงพร้อมด้วยเครื่องอุปโภคอันมิรู้สิ้น

๔. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต มีมิจฉาทิฐิ โพธิญาณแห่งเราจะเปลี่ยนให้เป็นสัมมาทิฐิ หรือ มาตรว่าสรรพชีวิต เดินทางสาวกยาน โพธิญาณแห่งเราจะเปลี่ยนให้เป็นมหายาน

๕. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต อาศัยธรรมแห่งเราประพฤติพรหมจรรย์ จักยังให้ศีลบริบูรณ์ ไร้ความด่างพร้อย ทั้งเมื่อสดับนามแห่งเรา จักบริสุทธิ์ ไม่ตกสู่อบาย

๖. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต กายาไม่บริบูรณ์ สติปัญญาไม่ถึงพร้อม วิกลวิการ บ้าใบ้บอดหนวก หรือเจ็บป่วยด้วยปวงสรรพโรคา เมื่อสดับนามแห่งเรา กายแลจิตจักบริบูรณ์ พ้นแล้วจากปวงโรคา

๗. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต โรคร้ายกลุ้มรุม ไร้ที่พึ่งพิง ไร้หมอไร้ยา ไร้ญาติขาดมิตร ยากจนข้นแค้น เพียงสดับนามแห่งเราแม้เพียงครั้งเดียว สรรพโรคสลาย สุขกายสุขใจ ทุกสิ่งบริบูรณ์ ตราบจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

๘. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันว่าสตรีต้องพบกับความทุกข์นานาประการ มาตรว่าปวงสตรีเพศ ปรารถนาจะสละแล้วซึ่งอิตถีเพศ (หมายถึงอยากจะเป็นชาย) สดับนามแห่งเรา เปลี่ยนหญิงเป็นชาย ถึงพร้อมมหาบุรุษลักษณ์ ตราบจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

๙. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จักยังสรรพชีวิต พ้นแล้วจากบ่วงแห่งมาร ปราศแล้วจากปวงเดียรถีย์ มาตรว่าตกอยู่อยู่ในป่าอันรกชัฏแห่งมิจฉาทิฐิ (เรา) จักชักนำให้เข้าถึงสัมมาทิฐิ บำเพ็ญโพธิธรรม เพื่อเข้าถึงพระโพธิญาณโดยเร็ว

๑๐. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต ต้องราชภัย ถูกจองจำ ต้องพันธนาการ ขื่อคา โซ่ตรวน ต้องเครื่องทัณฑกรรม หรือต้องพบกับความทุกข์และภยันตรายทั้งปวง ทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ สดับนามแห่งเรา ด้วยกุศลาภินิหาริย์แห่งเรา จักยังให้พ้นจากทุกข์ทั้งปว

๑๑. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต อดอยากอาหาร หิวและ
กระหาย ก่อบาปสร้างกรรม สดับนามแห่งเรา หมั่นกระทำการสวดรำลึก เราจักกระทำให้อิ่มแล้วด้วยโอชาโภชนาหารอันประณีต จากนั้นจักให้ยังเกิดปีติ อันเกิดแต่การแจ้งในธรรมรส

๑๒. เมื่อกาลที่เราตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มาตรว่าสรรพชีวิต ขาดแคลนเครื่องนุ่มห่ม ยุงไต่ไรตอม ร้อนหนาวเป็นกำลัง ไร้ที่พักแรม สดับนามแห่งเรา หมั่นกระทำการสวดรำลึก สิ่งอันงามทั้งปวง เช่นอาภรณ์อันวิเศษ รัตนาภรณ์ พวงมาลา เครื่องหอม คีตดุริยางค์ นักฟ้อน จักบังเกิดขึ้น ตามแต่มโนรส บริบูรณ์ทุกสิ่งอัน

ในพระศาสนาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อันมีพระนามว่า “พระอสนีประภาสตถาคตพุทธเจ้า” มีชายผู้หนึ่งพร้อมด้วยบุตรทั้ง ๒ ได้เห็นภัยในวัฏฏะทุกข์ จึงตั้งจิตปรารถนาพระโพธิญาณ เพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิต ณ. กาลนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงกระทำการสาธุการ จากนั้นจึงทรงมีพระพุทธพยากรณ์ว่า สืบไปชายผู้นั้นจักกระทำให้แจ้งแล้วซึ่งกองทุกข์ ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มีพระนามที่ “พระไวทยราชย์ตถาคตพุทธเจ้า” ผู้บุตรทั้ง ๒ จักเป็นพระมหาโพธิสัตว์ มีพระนามที่ “พระสุริยประภามหาโพธิสัตว์” และ “พระจันทรประภามหาโพธิสัตว์” ประทับ ณ. ไวฑูรยโลกธาตุวิสุทธิเกษตร ในมณฑลหนบูรพทิศ
ใน “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชสัปตพุทธมูลปณิธานปูชานิสังสสูตร” ได้แสดงนามแห่งพระผู้มีพระแห่งมณฑลหนบูรพาทั้ง ๗ พระองค์ รวมเป็น “พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชสัปตตถาคตพุทธเจ้า” ดังนี้
๑. พระสุนามศิริมังคลตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. โอภาสวิชัยโลกธาตุ

๒. พระมณีจันทรปรัชญาประภาสัททอิศวรตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. วิเศษมณีโลกธาตุ

๓. พระสุวรรณรัตนประภาวิเศษสิทธิตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. ไวปูลยคันธเกษตรโลกธาตุ

๔. พระอนาลยมหาชินศิริมังคลตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. อนาลยโลกธาตุ

๕. พระธรรมสมุทรอัสนีสัททตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. ธรรมคทาโลกธาตุ

๖. พระธรรมสมุทรชินปรัชญากรีฑาฤทธิ์ตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. สุสถิตมณีสมุทรโลกธาตุ

๗. พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ. ไวฑูรยวิสุทธิเกษตรโลกธาตุ

แต่ทั้งนี้ใน “ไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้ามูลปณิธานสูตร” กลับแสดงนาม “พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า” ไว้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น จึงทำให้ผู้มีสันนิษฐานว่า พระผู้มีพระแห่งมณฑลหนบูรพาทั้ง ๗ พระองค์ ที่แสดงมาข้างต้นนั้น อาจเป็นนิรมาณกายแห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าก็เป็นได้
ซึ่งพระผู้มีพระแห่งมณฑลหนบูรพาทั้ง ๗ พระองค์ ทรงมีพระมหาปณิธานรวมกันทั้งสิ้นได้ ๔๔ ประการ ทรงเป็นที่พึ่งเทวดาและมนุษย์ ตลอดจนสรรพชีวิตทั้งหลาย
ไวฑูรยวิสุทธิเกษตรโลกธาตุ ก็มีความเป็นเลิศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า สุขาวดีวิสุทธิเกษตรโลกธาตุ อันเป็นที่ประทับแห่ง พระผู้มีพระภาคอันมีพระนามว่า “อมิตาภ” แต่อย่างใด ใน “ไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้ามูลปณิธานสูตร” ได้พรรณนาลักษณะแห่งไวฑูรยวิสุทธิเกษตรโลกธาตุไว้ความว่า “โลกธาตุแห่งนี้ล้วนแล้วบริสุทธิ์ ไร้ซึ่งอิตถีเพศและมลทินทั้งปวง แม้แต่คำว่า “ความทุกข์” การที่จักได้สดับก็หามีไม่ อันพื้นปฐพีสำเร็จแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ อันกำแพง, แผ่นพื้น, ประตู, หน้าต่าง, ขื่อคาน, เสา, อาคาร นั้นเล่า ก็สำเร็จแล้วด้วยแก้วมณีทั้ง ๗ ประการ อันโลกธาตุแห่งนี้ เป็นที่ประทับแห่งพระผู้มีพระภาคอันมีพระนามว่า พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสุริยประภามหาโพธิสัตว์แลพระจันทรมหาโพธิสัตว์ ทั้งยังพร้อมด้วย ๘ พระมหาโพธิสัตว์และเทวบุรุษทั้ง ๑๒ อันจักปกปักษ์บริบาลผู้หมั่นบูชาและรำลึกถึงพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า ทั้งจักชักนำให้สรรพชีวิตทั้งมวลไปอุบัติ ณ. พุทธเกษตรแห่งนี้”
ใน “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชสัปตพุทธมูลปณิธานปูชานิสังสสูตร” แสดงว่า “มาตรว่าพุทธบริษัท ๔ อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา กุลบุตร กุลธิดา สมาทานรักษาศีล ๘ เป็นเวลา ๑ ปีหรือ ๓ เดือน ได้สดับเรื่องสุขาวดีโลกธาตุแห่งพระอมิตาภตถาคตพุทธเจ้าแล้ว ทว่ายังมีคติไม่แน่นอน ต่อมาได้สดับพระนามแห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า เมื่อถึงกาลกิริยา พระมหาโพธิสัตว์ทั้ง ๘ อันกอปรไปด้วย พระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ , พระเมตไตรยมหาโพธิสัตว์, พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์, พระสถามปราปต์มหาโพธิสัตว์, พระรัตนอาสน์มหาโพธิสัตว์, พระอนันตมนสิการมหาโพธิสัตว์, พระไภษัชยราชย์มหาโพธิสัตว์, พระไภษัชยาธิราชมหาโพธิสัตว์ จักสำแดงฤทธิ์ นำทางไปอุบัติยังดอกไม้แก้วหลากสี (หมายถึงไปอุบัติยังไวฑูรยวิสุทธิเกษตรโลกธาตุ) หรือไปบังเกิดยังสุคติโลกสวรรค์ หรือไปบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชปกครองนิกรชนทั้ง ๔ ทวีป ด้วยเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ (แห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า) จักยังให้สรรพชีวิตอันประมาณมิได้ (ที่เลื่อมใสศรัทธา) ตั้งมั่นในสุคติภูมิ มาตรว่าสตรี ได้สดับนามแห่งพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า ปรารถนาจะเป็นชาย จะไม่มีทางกลับกลายเป็นหญิงอีก”

คาถา “พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าอภิเษกสัจพจน์” เป็นพระคาถาที่สำคัญมากที่สุดคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายอุตตรยาน พระคาถานี้จักยังให้สรรพชีวิตทั้งปวงพ้นแล้วจากปวงโรคาพาธ, ภยันตราย, ความยากจน, ความเข็ญใจ, ความยากไร้, ความขาดแคลน, ความขับแค้นใจ, ความทุกข์กายความทุกข์ใจทั้งปวง ในท้ายที่สุดจักยังให้สรรพชีวิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์เข้าถึงฝั่งพระนฤพาน โดยพระคาถานั้นเป็นภาษาสันสกฤตดังนี้
นะโม ภะคะวะเต ไภษัชฺยะคุรุ ไวฑูรยะ ประภาราชายะ ตะถาคะตายะ อะระหะเต สัมมา สัมพุทธายะ ตะทะยะทา โอม ไภษัชเย ไภษัชเย มหาไภษัชเย สมุทะคะเต สะวาหา
โดยออกเสียงเป็นภาษาจีนกลางดังนี้
นำมอ ปอเจปาตี พีซาเซอ จฺวีลูปีลิวลี ปอลาปอ เฮอลาเซเย ตาทอเจตอเย อะลาเฮอตี ซำเมียวซำปอทอเย ตาจือทา อม พีซาซือ พีซาซือ พีซาเซอ ซำมอเจตี โซฮา
คาถา “พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าอภิเษกสัจพจน์” นี้ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ

ท่อนแรกคือ บทนมัสการพระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า คือ นะโม ภะคะวะเต ไภษัชฺยะคุรุ ไวฑูรยะ ประภาราชายะ ตะถาคะตายะ อะระหะเต สัมมา สัมพุทธายะ (นำมอ ปอเจปาตี พีซาเซอ จฺวีลูปีลิวลี ปอลาปอ เฮอลาเซเย ตาทอเจตอเย อะลาเฮอตี ซำเมียวซำปอทอเย)
และท่อนหลังคือ ตัวคาถา หรือที่เรียกว่า “หฤทัยคาถา” คือ ตะทะยะทา โอม ไภษัชเย ไภษัชเย มหาไภษัชเย สมุทะคะเต สะวาหา (ตาจือทา อม พีซาซือ พีซาซือ พีซาเซอ ซำมอเจตี โซฮา)
หรือ
โอม ไภษัชเย ไภษัชเย มหาไภษัชเย สมุทะคะเต สะวาหา (อม พีซาซือ พีซาซือ พีซาเซอ ซำมอเจตี โซฮา)
เมื่อจะสวดพระคาถา “พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้าอภิเษกสัจพจน์” นี้ ให้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระไภษัชยคุรุตถาคตพุทธเจ้า จินตนาการว่าพระองค์ทรงปรากฏกายท่ามกลางท้องนภา พระฉวีสีดั่งท้องนภา พระรัศมีสาดส่องไปทั่ววัฏฏะสงสาร ไปยังร่างกายของสรรพชีวิตทุกภพภูมิ ยังให้ปวงสรรพชีวิต พ้นแล้วจากปวงโรคาพาธ, สรรพภยันตราย, ความยากจน, ความเข็ญใจ, ความยากไร้, ความขาดแคลน, ความขับแค้นใจ, ความทุกข์กายความทุกข์ใจทั้งปวง และในที่สุดจักยังให้สรรพชีวิต กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือเข้าถึงฝั่งพระนฤพาน
ที่มา โมทนาสาธุครับ