วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

175: ตำนานลูกประคำ 108 เม็ด

ในปีพุทธศักราช ๒๒๕ คณะสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียได้ประชุมตกลงกันจัดส่งพระอรหันต์ เถระเดินทางออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในดินแดนต่างๆ ในการนี้ได้มอบหมายให้พระอรหันต์สองรูป คือ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาและนำพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์มา ประดิษฐานในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีเมืองนครปฐมในปัจจุบันเป็นจุดศูนย์กลาง เมื่อได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแล้ว พระอรหันต์เถระทั้งสองรูป จึงได้ออกเดินทางจากเมืองปาฏลีบุตรในประเทศอินเดียโดยนำพระบรมสารีริกธาตุมา ด้วยครั้นเมื่อเดินทางผ่านเมืองสะเทิมในประเทศมอญ พระอรหันต์เถระทั้งสองรูปได้พบกับพระฤษีสามองค์ ซึ่งพำนักบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ที่บริเวรภูเขาสุทัศน์คีรีใกล้เมืองสะเทิมคือ พระฤษีคุปตะ พระฤษีจุลละ และพระฤษีเทวิละ พระฤษีทั้ง ๓ องค์นี้ เมื่อได้เห็นพระจริยาวัตรและปฏิปทาอันงดงามของพระโสณเถระและพระอุตตรเถระก็ บังเกิดศรัทธาและความเลื่อมใสชักชวนกันไปกราบไหว้นมัสการ และซักถามพระอรหันต์เถระทั้งสองว่า ท่านเป็นศิษย์ของผู้ใด ใครคือพระศาสดาของท่านพระอรหันต์เถระทั้งสองก็ตอบว่าพระสมณโคดมศากยบุตรอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ของพวกเรา พระองค์คือพระศาสดาของพวกเราทั้งหลายพระฤษีสามองค์ เมื่อได้ยินดังนั้นก็ขอร้องให้พระอรหันต์เถระทั้งสองรูป เล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาให้ฟัง พระอรหันต์เถระทั้งสองก็ได้อธิบายให้พระฤษีทั้ง ๓ องค์ฟังโดยละเอียด พระฤษีทั้ง ๓ องค์เมื่อได้ทราบว่าพระรัตนตรัยได้บังเกิดขึ้นในโลกนี้แล้วก็รู้สึกปิติ ยินดี แต่มีความเสียดายที่ไม่ได้พบเข่เฝ้าพระพุทธองค์ เพราะทรงเข้าปรินิพพานไปนานแล้วถึง ๒๒๕ปี จึงซักถามพระอรหันต์เถระทั้งสองต่อไปว่าพระรัตนตรัยทั้งสามมีคุณเท่าใด พระอรหันต์เถระทั้งสองก็อธิบายให้ฟังว่า คุณของพระพุทธเจ้ามีจำนวน ๕๖ ดังบทสวดพระพุทธคุณ (อิติปิโสภควา) คุณพระธรรมเจ้ามีจำนวน ๓๘ ดังบทสวดพระธรรมคุณ (สวากขาโต) และคุณพระสังฆเจ้ามีจำนวน ๑๔ ดังบทสวดพระสังฆคุณ (สุปฏิปันโน) เมื่อรวมกันแล้ว คุณพระศรีรัตนตรัยมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๘

พระฤษีทั้ง ๓ องค์ได้ซักถามต่อไปว่า ในกัปของเรานี้จะยังมีพระพุทธองค์ใหม่เกิดขึ้นอีกหรือไม่ พระอรหันต์ทั้งสองได้อธิบายให้ฟังว่า ในขณะนี้เราอยู่ในภัทรกัป ซึ่งจะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๕ พระองค์ พระสมณโคดมนี้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ในภัทรกัป ดังนั้นในกัปนี้จึงยังเหลือพระพุทธเจ้าที่จะมาบังเกิดขึ้นอีกหนึ่งพระองค์ คือพระศรีอริยเมตไตรย

ประวัติลูกประคำ ตำนานการสร้างเม็ดประคำ (อีกตำรา)


ลูกประคำมีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ว่า ลูกกลม ๆ ที่ร้อยด้วยเชือกเป็นสิ่งสำหรับชักเป็นคะแนนในเวลานั่งบริกรรมภาวนา แต่ทว่าลูกประคำตามความหมายและความรู้สึกของนักนิยมสะสมพระเครื่อง -เครื่องรางของขลังนั้น จะมีความหมายที่นอกเหนือไปจากคำจำกัดความ ดังกล่าวแล้ว นั่นก็คือลูกประคำยังเป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่งที่นิยมพกพา หรือคล้องคอ เพื่อขอพุทธานุภาพในการคุ้มครองป้องกันภัย

สำหรับในด้านศาสนา ถือกันว่าเป็นเครื่องยังจิตใจ ให้เข้าสู่ภาวนาสมธิ เพื่อฝึกจิตตานุภาพให้แข็งแรง อดทนต่อการก่อกวนแห่งกิเลสทั้งปวง ที่มีให้พ้นไป ในทางพระเวทย์ ถือว่าลูกประคำเป็นเครื่องกำหนดคาบการภาวนาในการฝึกจิตหรือร่ายพระเวทย์วิทยาคมทั้งหลาย ให้เกิดพลังอำนาจขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และในด้านวิชายุทธโบราณของจีนหรือกำลังภายในนั่นเอง ซึ่งลูกประคำเหล็กของหลวงจีนวัดเส้าหลินเอามาเป็นเครื่องป้องกันตัวจากคมอาวุธได้ และยังใช้ในการสวดภาวนารวมไปกับบักเต้า (เครื่องเคาะจังหวะ) ได้อีกด้วย

ผู้อ่านคงจะเห็นด้วยกับผู้เขียนว่า พระกิ่งธิเบต และพระกิ่งนอก มักจะสร้างพระไภสัชยะ คุรุมีประคำรอบพระศอไว้ด้วย ส่วนพระกิ่งของไทยเราได้ดัดแปลงเม็ดประคำให้เป็นริ้วจีวรเป็นเส้นลวดเกลี้ยง แทนเพราะประคำเป็นคตินิยม มหายาน และพราหมณ์ จะสังเกตเห็นพระบรมศาสดานั้น ไม่ทรงชักและใช้ประคำ เหตุเพราะพระองค์ทรงสำเร็จและหยั่งรู้เหนือกว่าการภาวนาชักประคำมากมายนัก

ลูกประคำนั้นแพร่หลายมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาในตำรับวัดป่าแก้ว ของสมเด็จพระนพรัตน์นั้นระบุว่าได้มีการสร้างประคำดาบปราบหงสาวดี ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเพื่อทรงออกศึกกู้ชาติในยามที่ทรงสิ้น พระชนม์ชีพ เมืองหาง ก็ทรงมีประคำคล้องติดพระศอ อยู่อย่างแนบแน่น เพราะทรงนับถือสมเด็จพระนพรัตน์เป็นอาจารย์องค์สำคัญ

ลูกประคำมีมาตรฐานกำหนดเม็ดประคำ นับจากลูกปลายล่างสุดจนจรดปมที่ผูกมัดร้อยด้วยประคำรวมกันได้ 108 เม็ด จำนวน 108 เม็ดนี้ถือว่าเป็นเลขมงคลทั้งพุทธ และพราหมณ์ไปจนถึงอาถรรพณ์เวทย์ พระอรหันต์ 108 รูป สวดสาธยายพระคาถา 108 จบ ว่า 108 ชนิด ถ้าพูดถึงอะไรก็ตามที่ลงด้วย 108 แล้วจะขลังดีขึ้นอีกเป็นทวีคูณ

ลูกประคำนั้นตามตำรับโบราณจะต้องใช้ว่านมงคล 108 มาบดผสมกับเครื่องยาจินดามณีเสียครั้งหนึ่งก่อน จึงจะโยงยึดด้วยรักหรือปูนนั้น และจึงเจาะรูตรงกลาง ด้วยการเอาแผ่นเงินหรือแผ่นทองมาลงอักขระม้วนเป็นตะกรุด เสียบเข้าไปเป็นแกนกลางสำหรับร้อยเชือกส่วนเชือกนั้นต้องใช้ไหมเจ็ดสีมา ควั่นเป็นเชือกร้อยตรงปลายสุด ปั่นให้ฟูและถักเป็นพู่ให้สวยงามแต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผงใบลาน เผาคลุกรัก และวัสดุอื่นจนในปัจจุบันนี้กลายเป็นประคำชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้จันทน์ ทั้งพลาสติก และลูกประคำสำเร็จรูป

ยังมีประคำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กเรียกกันว่าประคองแขนคือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง พอที่จะสวมข้อมือ แล้วรูดขึ้นไปไว้บนต้นแขนคล้ายกับเชือกคาด และประคำมือ คือมีขนาดเล็กสวมที่มือไม่ได้ แต่เอาสวมไว้กับตัวนิ้วโป้ง ใช้สำหรับนักดาบ ท่านผู้อ่านท่านใดได้เคยไปนมัสการ หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จะสังเกตเห็นว่าท่านมีอยู่พวงหนึ่ง และติดมือของท่านอยู่เสมอใช้นั่งทำภาวนาของท่านและยังมีของ สำนักวัดมะขามเฒ่า หลวงปู่ศุข นั่นเองที่ขึ้นชื่อลือชามากเพราะมีข้าราชการขอให้ท่านสร้างให้อย่างมากมาย ถือได้ว่าเป็นเครื่องรางที่สร้างยากและมีอานุภาพมาก

ส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัสดุที่ใช้ทำ ดังนี้

1. กะลามะพร้าวตาเดียว กลึงเป็นรูปกลมเจาะรูตรงกลาง
2. งาช้าง (งากำจัด) กลึงเป็นรูปกลม เจาะรูตรงกลาง
3. เขี้ยวหมู เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมูตัน และเขี้ยวจระเข้ นำมากลึกเป็นรูปกลมเจาะรูตรงกลาง

เมื่อนำสรรพสิ่งที่ว่ามารวมกันแล้วท่านว่ามีศิริอานุภาพของประคำใช้ป้องกัน เขี้ยวงาศาตราวุธ และป้องกันการกระทำคุณไสยใช้ภาวนาเป็นคาถาแคล้วคลาด และนำติดตัวเป็นเสน่ห์ ส่วนการร้อยเรียงจะมีกะลาเป็นส่วนใหญ่ คั่นด้วยงาเขี้ยวจนครบ 108 เม็ด จะคั่นเหมือนกันทุกพวง และได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่องของขลังเป็นอย่างยิ่งจนทุกวันนี้ ส่วนราคาเป็นหลักหมื่นขึ้นไป ของเทียมก็มีแต่งา และความแห้งของกะลาไม่มี ต้องพิจารณาหน่อย และที่ปลายพวงส่วนใหญ่จะเป็นงากลึง

คาถาอาราธนาไม่มีเฉพาะเจาะจง แต่อาจจะใช้แบบรวม คือ ตั้งนะโม 3 จบ และระลึกถึง คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ก่อนจะนำติดตัวให้ว่า สาธุพุทธยัง อาราธนานัง ธัมมังอาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง อุกาสะ อาราธนานัง อิมังกายะพันธะนัง อธิษฐาน มิ