วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

การทบทวนทิศทางของเว็ปบอร์ดหลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต

กราบเรียน เพื่อนนรธ.และญาติธรรมทุกท่าน
เรื่อง การพิจารณาการดำเนินไปของเว็ปบอร์ดหลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต


เดิมทีที่กระผมก่อตั้งเว็ปบอร์ด (กระทู้) แห่งนี้ขึ้นมา ก็เพื่อเจตนาในการเผยแพร่ความรู้ เรื่องราวพระพิมพ์สำคัญๆ การก้าวไปในบุญวิถี จรรโลงซึ่งธรรมะสืบทอดพระศาสนาให้ยืนยาวตราบนานเท่านาน และเผยแพร่ธรรมะ ปฏิปทา ความอัศจรรย์ขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์แห่งภูดานไห เพื่อนอบน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ด้วยท่านเป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง และเพื่อให้ผู้ที่ได้มารับรู้รับทราบ หากเกิดศรัทธาได้น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติก็จักเกิดประโยชน์ เป็นบุญเป็นกุศล แต่ถ้าหากการเผยแพร่ การแสดงความเห็น ผิดแผกไปจากแนวทางแห่งวัตถุประสงค์ น้อมนำผู้อ่านไปในแนวทางอื่น ที่ไม่เป็นไปเพื่อบุญกุศล เพื่อการสละ ละ วาง หรือยกระดับจิต ก็จะผิดวัตถุประสงค์ อีกทั้งยังอาจให้ผู้เข้ามารับรู้รับทราบนั้นเข้าใจแนวทางขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ผิดไป ก็จะเป็นการก้าวล่วงต่อองค์ท่าน อันจะก่อให้เกิดกรรมต่อหลายฝ่ายทั้งผู้เข้ามาอ่าน ผู้แสดงความเห็น รวมถึงตัวกระผมผู้ก่อตั้งบอร์ดแห่งนี้ ซึ่งในระยะหลังๆมานี้มักปรากฏว่าไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ก็จะยิ่งพากันหลงทาง เสียหายกันไปใหญ่

จึงมีแนวความคิดที่จะ "ปิด" กระทู้หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต ภายในวันที่ 30 เม.ย. 55 (วันนี้) จึงได้ตั้งเว็ปบอร์ด (กระทู้) ใหม่ขึ้น มีมงคลนามที่มอบให้โดยองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ว่า พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ กระผมขออนุญาตเติมไปอีกประโยคคือ "องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช" รวมเป็น พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกเล่าเรื่องราว พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ และความอัศจรรย์องค์พ่อแม่ครูอาจารย์โดยเฉพาะ อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่พิเศษ เปรียบเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของพุทธสถานภูดานไหจริงๆ เลยอยากเห็นภาพหรือการสื่อสารออกมาถึงความงดงามในธรรมจริงๆ

ที่ผ่านมากระทู้แห่งนี้ ได้ร้อยเรียงเรื่องราวต่างๆก็มากมาย ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อพระศาสนามาก็มหาศาล พลอยระลึกนึกถึงคุณของบอร์ดหลวงปู่แหวนมาโปรดฯ ที่ได้นำพาให้พวกเรามีวันนี้ร่วมกัน กระผม (โดยได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่บางท่าน) จักขอพิจารณาไปสักระยะ เพื่อดูการดำเนินก้าวไปของบอร์ดว่า เป็นอันหนึ่งแนวทางเดียวกันหรือเปล่า ยังเป็นลักษณะการบอกสอนจากภูมิธรรมอันยังเคลือบแฝงด้วยอัตตาของแด่ละบุคคล ไม่ใช่ประสพการณ์ที่นำเล่าสู่กันฟัง ซึ่งอาจนำพาผู้อื่นคล้อยตามให้เกิดความเห็นที่เบี่ยงเบนไปจากมรรควิถีแห่งธรรม หรือเป็นการเขียนเอาตามอารมณ์ซึ่งไม่เป็นไปโดยธรรมจนไปกระเทือนบุคคลอื่น หากยังคงเป็นอยู่ในลักษณะดังกล่าว ก็จักขอถือโอกาสนี้ "บอกลาและปิดบอร์ดฯ" เมื่อถึงกาลอันควร

ท้ายนี้ กระผมขอกราบขอบพระคุณพื้นที่ของเว็ปพลังจิต , เพื่อนนักรบธรรมและญาติธรรมทั้งหลาย ที่ให้ความร่วมมือ ขอให้ท่านพบแต่ความสุขความเจริญฯ
หวังว่าคงได้ศึกษาธรรมะร่วมกัน เพื่อความเจริญงอกงามในทางธรรม สืบสานพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองต่อไป

พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช
IT Man /30 เมษายน 2555
................................................................................................
บอร์ดหลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตฝัน เป็นสถานที่หนึ่งที่น้อมนำให้หลายท่านได้มารู้จักและพบปะพูดคุย จนถึงพบเจอรู้จักคุ้นเคยกัน จากคนที่อยู่ต่างที่ต่างถิ่นแต่ความนิยมชมชอบ จริตที่คล้ายๆกันจะเปรียบเป็นวงกาแฟที่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนสารพันเรื่องราวกันหรือจะเปรียบเสมือนลานธรรมเพื่อการศึกษาธรรมและได้เก็บเกี่ยวสิ่งดีดี จากประสพการณ์ของแต่ละท่านที่มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน อีกทั้งยังเป็นที่สร้างโอกาส ช่องทางในการสร้างสมบุญกุศลสร้างบุญบารมีร่วมกัน
จึงนับได้ว่าบอร์ดแห่งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์
จนถึงได้ยังประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาได้ไม่น้อย
ในความรู้สึกของผมบอร์ดแห่งนี้ถือเป็นส่วน
หนึ่งที่จะต้องช่วยกันดูแลและประคับประคองบ้านหลังนี้ให้เป็นที่พักพิงของพวกเราและผู้เดินทางผ่านมา ด้วยความเคารพเจตนา วัตถุประสงค์ของผู้สร้าง เหมือนเราให้ความเคารพต่อสถานที่ที่เราได้ไปจุดประสงค์ของผู้ก่อตั้งบอร์ดเป็นอย่างไรบางท่านที่เข้ามาในระยะหลัง อาจจะพึ่งได้รับทราบก็เป็นได้ ตามที่ผู้ก่อตั้งได้เล็งเห็นว่า ควรจำแนกแยกแยะหมวดหมู่เรื่องราวออกไปในกระทู้ที่จะให้พวกเราได้ไปพูดคุยกันในแต่ละเรื่องราว ในความคิดผมก็เห็นว่าเป็นแนวทางที่ดี ไม่ผสมปนเปไปจนไม่รู้ทิศทางของบอร์ด เรียกว่าจะคุยกันอย่างถูกที่ถูกทาง ตรงประเด็นและถูกวัตถุประสงค์
ผมคะเนว่า หลักใหญ่ใจความในมูลเหตุอันสำคัญ ในการจะจำแนก แยกแยะเรื่องราว แนวทางของบอร์ด ก็เพื่อจะได้ไม่มีส่วนไปกระทบหรือก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างผิดๆ จนถึงก้าวล่วงต่อแนวทางขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ผู้เป็นเสมือนศูนย์รวมจิตวิญญานของเหล่านักรบธรรม ก็เป็นความละเอียดรอบคอบอย่างหนึ่งครับ
นี้เป็นความเห็นในส่วนของผม สำหรับความเห็นของท่านอื่น ก็คงให้หลายท่านได้แสดงความคิดความเห็นกัน
แต่ในท้ายที่สุด อะไรจะเป็นไปอย่างไร มันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ตามสภาวะธรรมแห่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่
และดับไป เช่นนั้นเอง
เราต่างพยายามทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด ตามสามัญสำนึกและสติปัญญาเท่าที่เรามีอยู่

ภูเบศว์

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

174: พระพิมพ์พระพุทธทรงไก่

ลงรักปิดทอง
พิมพ์ปกติ
หนึ่งในพระพิมพ์สายวัง ทรงเหมือนพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน
พลานุภาพ : เด่นด้านเมตตาค้าขาย
สันนิษฐานว่า : เป็นพลังของหลวงปู่ใหญ่ฯ

173: พระพุทธปฐวีธาตุองค์คู่กาย IT Man

บทพิสูจน์ความเชื่อมั่นและศรัทธา...เนื่องในวาระแทนคุณบิดามารดา
พระพุทธนาคาพิทักษ์ : องค์พ่อแม่ครูอาจารย์มอบให้เป็นของขวัญวันเกิดปี 55
น้อมอัญเชิญ : วันศุกร์ที่ 13 เม.ย. 55 ปีมะโรง
พระพุทธปฐวีธาตุ รุ่นอยู่เย็นเป็นสุข : คุณแม่ชมมอบให้เป็นของขวัญวันเกิดปี 55
น้อมอัญเชิญ : วันพฤหัส ที่ 12 เม.ย. 55 ปีเถาะ
ด้านหน้า องค์คู่บารมี
ด้านหลัง องค์คู่บารมี
ด้านข้างองค์พระพุทธปฐวีธาตุ
ด้านหน้า องค์พระพุทธนาคาพิทักษ์

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

172: สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ลิไท


สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)
ทรงครองกรุงสุโขทัยเป็นรัชกาลที่ ๕ ในราชวงศ์พระร่วง
ทรงสร้างเมืองพิษณุโลก สร้างวัดพระศรีมหาธาตุฯ
ทรงให้ช่างหลวงฯ หล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา
ในปีพุทธศักราช ๑๙๐๐

ข้อมูลพงศาวดาร พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา
พระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบอกว่า...

1. รูปพระชินศรี พระศรีศาสดาสองพระองค์บริบูรณ์ดี มีน้ำทองแล่นตลอดเสมอกันการ เป็นสำเร็จ แต่รูปพระชินราชเจ้านั้นไม่ลงบริบูรณ์ ช่างได้ทำหุ่นรูปใหม่ และหล่ออีกถึงสามครั้งก็มิได้สำเร็จเป็นองค์พระ สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกโทมมัสนัก แล้วทรงตั้งสัจกิริยาธิฐานอ้างบุญบารมีแล้วรับสั่งให้พระนางประทุมเทวีตั้งสัจกิริยาธิฐานด้วย ครั้นนั้นประขาวคนหนึ่งเข้ามาช่วยปั้นหุ่นทำการแข็งแรง ประขาวคนนั้นเป็นใช้ใบ้ไม่พูด ใครถามชื่อตำบลบ้านก็ไม่บอกไม่มีใครรู้จักช่วยทำการทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีเวลา ครั้นรูปหุ่นงามดีสำเร็จเข้าดินพิมพ์แห้งแล้ว กำหนดมงคลฤกษ์จะได้เททอง ณ วัน ๕ ค่ำ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จุลศักราช ๓๑๙ พุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่เจ็ดวัน จึงดำรัสสั่งให้อาราธนาชุมนุมพระภิกษุสงฆ์ และชีพ่อพราหมณ์ทำการมงคลพิธีเหมือนครั้งก่อน แล้วเททองก็เต็มบริบูรณ์ ประขาวที่มาช่วยทำนั้นก็เดินออกจากที่นั้นไป แล้วออกจากประตูเมืองข้างทิศเหนือหายไปที่ตำบลหนึ่ง บ้านนั้นได้ชื่อว่าบ้านตาประขาวหายจนทุกวันนี้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเมื่อต่อยพิมพ์พระพุทธรูปออกเห็นบริบรูณ์งามดี จึงมีรับสั่งให้ข้าราชการไปตามสืบหาตัวประขาวนั้น จะมาพระราชทานรางวัลก็ไม่ได้ตัวเลย
2. สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ทรงมีพระชนมายุ 150 ปี

171: พระพุทธมหาธรรมราชา

สถานที่ประดิษฐาน
วัดไตรภูมิ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

พุทธลักษณะ
ศิลปะสมันลพบุรี เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่อง สร้างด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริด หรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลายสวยงาม

สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา
เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณ ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า
"พระพุทธมหาธรรมราชา"

ส่วนประวัติการสร้างนั้นไม่ปรากฏเด่นชัด แต่ชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อว่า พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด (อ.หล่มสัก) ได้รับพระราชทานจาก พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งนครธม ให้นำไปประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง หลังจากทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางสิงขรมหาเทวี แต่หลังจากพ่อขุนผาเมืองร่วมกับพ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยาง (อ.นครไทย)พระสหาย กอบกู้อิสรภาพ ให้กับคนไทยทำให้พระนางสิงขรมหาเทวี แค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับจากนั้นตัดสินใจกระโดดแม่น้ำป่าสักฆ่าตัวตายทำให้ไพร่พลเสนาอำมาตย์ ต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสักเพื่อหลบหนีไฟ แต่ปรากฏว่าแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยวและกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้แพที่อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแตกจนองค์พระจมดิ่งลงสู้ก้นแม่น้ำหายไปกระทั่งต่อมาชาวประมงได้ไปพบ จนก่อให้เกิด ตำนานมหัศจรรย์และ "ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ" ขึ้น



มหาพุทธานุสรณ์ บนแผ่นดินเพชรบูรณ์
พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ
ณ พุทธอุทยานเพชบุระ จังหวัดเพชรบูรณ์



เพชรบูรณ์หรือเมืองเพชบุระในอดีต เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ อันส่งผลดลบันดาลให้เมืองเพชรบูรณ์อุดมสมบูรณ์และร่มเย็นเป็นสุขมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ภายใต้อิทธิบารมีแห่งบวรพระพุทธศาสนาและองค์สัญลักษณ์นั่นคือ พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของเพชรบูรณ์

จากหลักฐานทางโบราณคดีสองชิ้นสำคัญที่สุดของเพชรบูรณ์ ชิ้นแรกคือ จารึกลานทองคำที่ พบในเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ได้มีการจารข้อความที่ฝากฝังให้คนเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นผู้พบจารึกดังกล่าวให้ ช่วยกันส่งเสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยืนยงสถาพรต่อไป และชิ้นที่สองคือ เสาหลักเมืองเพชรบูรณ์ที่เป็นศิลาจารึก ก็ได้มีการจารึกข้อความขอให้ชาวเพชรบูรณ์ได้ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่จวบจนห้าพันปีให้ได้

เมื่อพุทธศักราช ลุเข้าสู่ปีที่ ๒๕๕๔ ชาวเพชรบูรณ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงได้ร่วมกันปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่ ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว นั่นคือ การประกาศบวรพระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานอย่างมั่นคงบนแผ่นดินเพชรบูรณ์ โดยการร่วมกันสร้าง “พระพุทธมหาธรรมราชา เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช”

โมทนาสาธุครับ (Link ภาพ)
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ srithong999 อ่านข้อความ
องค์นี้ใช้หรือเปล่าครับ?
งดงามมากหลาย ท่านทำเป็นพระยอดธงด้วยหรือนี่? ขอบพระคุณท่านมากที่กรุณานำภาพมาให้ชมครับ
ปล:
- พระที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับน้ำน่าจะเกี่ยวข้องกับพญานาค
- ปกติพระพุทธที่ทรงประครองบาตรน้ำมนต์ ท่านจะเรียกว่าพระไภษัชยคุรุ
- แต่องค์พระพุทธมหาธรรมราชานี่ ทรงทำให้ผมงงนิดหน่อย ทั้งประวัติการสร้างก็เป็นเพียงคำสันนิษฐาน


พระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภาสุคต พระพุทธเจ้าแห่งยา ( Medicine Buddha)
วรรณะกายสีน้ำเงิน เป็นคติความเชื่อในนิกายวัชรยาน
องค์นั่งปางสมาธิบนพระหัตถ์ถือบาตรน้ำมนตร์ หรือ "หม้อมงคล" หรือ ผอบพระโอสถ

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ srithong999 อ่านข้อความ
ท่านสมบัติ

ไม่ทราบว่าองค์นี้คือ พระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภาสุคต หรือไม่????
เป็นพระบูชาประมาณ 4-5 นิ้ว นาคปรกสามารถถอดออกได้ ใต้ฐานอุดดินแดง

สำหรับพระยอดธงมหาธรรมราชาองค์นี้เป็นเนื้อพิเศษครับ
IT Man:
- พระศิลปะเช่นนี้ (ปางสมาธิ+นาคปรก+ประครองบาตรน้ำมนต์) เป็นความตั้งใจสร้างให้เป็น..
พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า

- ซึ่งสอดคล้องกับองค์พระที่ท่านนำมา show ข้างต้นครับ

ปล:
- สำหรับพระยอดธงมหาธรรมราชาที่ท่านบอกว่าเป็นเนื้อพิเศษนั้น หากเป็นไปได้...
โปรดเมตตาให้ข้อมูล เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชนรุ่นหลัง ก็จักเป็นพระคุณยิ่งครับ
- พระยอดธง ปกติก็ถือว่าพิเศษยิ่งอยู่แล้ว หากแม้นเป็นเนื้อพิเศษด้วยแล้วนั้น
ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ปกติ (พิเศษ) ของพระสำคัญกระมังครับ หึหึ

(เป็นความเห็นส่วนตัวจากการสืบค้นข้อมูลหลายๆมิติ)

ขอแสดงความยินดีที่ท่านมีพระพิมพ์ที่สำคัญๆอยู่ในการครอบครองครับ
ความเห็นส่วนตัวผม :
ฐานของท่านไม่มี...แสดงว่าต้องสามารถถอด หรือวางไว้ในฐานสูง ซึ่งหากอัญเชิญท่านมาประดิษฐานไว้บนขนดพญานาคแล้ว ก็จักทรงกลายเป็นองค์พระไภษัชยะคุรุพุทธเจ้าทันที

ตามประวัติบอกว่าท่านเสด็จมาทางน้ำ มีความเป็นไปได้ที่ฐานที่ซึ่งเป็นขนดพญานาคนั้น อาจสูญหายไปในแม่น้ำ หรืออาจจะแยกชิ้นไป หรือเพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
เช่นเดียวกับองค์พระพุทธนวราชนาคาองค์นี้ครับ


ในคติความนิยม มักจะกล่าวว่า พระปางนาคปรกนั้นเป็นพระประจำวัน ของผู้ที่เกิดวันเสาร์

พระนาคปรกนั้นมีพระพุทธคุณปาฏิหาริย์ในการคุ้มครองป้องกัน การสร้างความมั่นคง รุ่งเรือง ในฐานานุรูป และโภคทรัพย์ และดลบันดาลสันติสุข ร่มเย็น เป็นมงคลแก่บุคคลที่เคารพบูชาทั่วไป

มีข้อสังเกตว่า สมัยที่อาณาจักรขอมรุ่งเรืองนั้น ในปราสาท ราชวัง และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เรามักจะเห็นพระพุทธรูปปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ทั่วไปเกือบทุกแห่ง

ดังนั้น...ปีนี้เป็นปีที่กำลังจะย่างเข้าปีใหม่คือปีนักษัตรมะโรง (งูใหญ่ หรือพญานาค) หากท่านพอมีกำลัง ก็ลองหาพระบูชานาคปรก มาประดิษฐานไว้ในบ้านเรือน เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของท่านและครอบครัวสักองค์นะครับ
IT Man/09.04.55

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ srithong999 อ่านข้อความ
ท่านสมบัติครับ เป็นเพียงข้อมูลที่ผมพยายามใช้ทางวิทยาศาสตร์ช่วย
โดยการตรวจ X-Ray Fluorescent พบว่า

มีส่วนผสมของทองคำสูงถึง 64% ทองแดง 15% สังกะสี 10%
แต่ที่ประหลาดใจ คือ พบเนื้อปรอทสูงถึง 6.7% นอกนั้นเป็นโลหะอื่น ๆ

พระพิมพ์ยอดธงและพิมพ์ที่ไม่ใช่ยอดธง ก็มีนะครับ แต่บุด้วยทองคำ
ด้านในไม่ทราบว่าเป็นเนื้ออะไร เงินหรือทองแดง ดังในรูป 

................................................................................................
ข้อมูลข้างล่างเป็น Link ที่ Copy กันไปมา จนไม่ทราบแหล่งต้นของข้อมูล ท่านว่าดังนี้...
................................................................................................
คงมีหลายท่านที่ชื่นชอบพระเครื่องหรือวัตถุมงคลต่างๆ ที่มีส่วนผสมของโลหะหลายชนิดและมีชื่อเรียกเฉพาะเช่น เนื้อสำริดหรือสัมฤทธิ์ เนื้อสัตตโลหะ เนื้อนวโลหะ เป็นต้น
ในการทำพระเครื่องและวัตถุมงคลนั้น ในสมัยโบราณได้มีการเล่นแร่แปรธาตุกัน แต่ละสำนักซึ่งส่วนใหญ่สามารถแบ่งหรือแจกแจงมวลสารโลหะที่ใช้ทำพระเครื่องได้ดังนี้
เนื้อนวโลหะ ประกอบไปด้วย โลหะ 9 อย่างได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง จ้าวน้ำเงิน เหล็กละลายตัว ชิน ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี
เนื้อสัตตโลหะประกอบด้วย ทองคำ ทองแดง จ้าวน้ำเงิน เหล็ก ตะกั่ว ปรอท
โลหะสัมฤทธิ์โบราณ ประกอบไปด้วยธาตุบริสุทธิ์ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปโดยมี แร่ทองคำและเงินเป็นหลัก ถ้าไม่มีจะไม่ถือว่าเป็นสัมฤทธิ์ และที่เป็นหลักอีกอย่างคือทองแดง ซึ่งจะใช้มากเพื่อให้ได้ปริมาณ
เนื้อสำริดหรือสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ 5 ตระกูล คือ สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ 5 ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้
1. สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตริยโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม พระพุทธรูปสมัยอู่ทองโดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทองหน้าแก่มักสร้างด้วยเนื้อนี้
2. สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยบางยุคและพระเชียงแสน พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ บางรุ่น และพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์บางรุ่นก็สร้างด้วยเนื้อนี้3. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด
4. สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ หมายถึงนัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ
5. สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิฯ และสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
1) ชิน หนัก 1 บาท
2) จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
3) เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4) ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
5) ปรอท หนัก 5 บาท
6) สังกะสี หนัก 6 บาท
7) บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
8) เงิน หนัก 8 บาท
9) ทองคำ หนัก 9 บาท
เนื้อทองสัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เดชเพียง 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก การสร้างพระเครื่องและเหรียญในปัจจุบันนี้ได้ทำให้คนเข้าใจผิดกันมาก โดยเรียกโลหะผสมชนิดเนื้ออ่อนๆ ชนิดหนึ่งว่าเป็นเนื้อนวโลหะ และเรียกโลหะผสมชนิดเนื้อกลับว่า เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นการตรงกันข้าม เพราะคำว่านวโลหะ หมายถึงเนื้อทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้าตามแบบโบราณเท่านั้นครับ เรื่องของเนื้อทองสัมฤทธิ์ก็มีเท่าที่เล่ามานี้แหละครับ ส่วนเนื้อโลหะอื่นๆ ที่นำมาสร้างพระเครื่องก็ยังมีอีกมาก เช่นเนื้อชิน เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ และเนื้ออัลปาก้าเป็นต้น
...............................................................................................
สำหรับพระพุทธมหาธรรมราชาองค์น้อย...ที่ท่าน srithong นำภาพมาให้ชมนี้ เข้าข่ายข้อสองคือ...

สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน
มีแววนกยูงภายในเนื้อเป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยบางยุคและพระเชียงแสน
พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ บางรุ่น และพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์บางรุ่นก็สร้างด้วยเนื้อนี้
...............................................................................................
จาก LINK
IT Man/09.04.55

170: รวมพระพุทธรูปสำคัญ 9 พระองค์

รวมพระพุทธรูปสำคัญ 9 พระองค์ คือ
1. พระพุทธสิหิงค์ พระปฏิมาแบบสุโขทัย – ล้านนา นับถือเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นสิริยังพระนครหลวงของไทยทุกแห่ง นับแต่กรุงสุโขทัย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยาตราบเท่าถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสถิตเป็นมงคลแก่พระนคร ประจำ ณพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานครได้อัญเชิญออกให้ประชาชนถวายน้ำสงกรานต์เป็นประจำทุกปี นับเป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์และสวัสดิมงคล

2. พระหายโศก พระปฏิมาศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นพระพุทธรูปของหลวงพระราชทาน มีนามเป็นมงคลพิเศษ จากจารึกฐานพระพุทธรูปกล่าวว่าส่งมาถึงกรุงเทพฯ (จากล้านนา) ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2399 เดิมคงใช้ในพระราชพิธีหลวง จนกระทั่งกรมพระราชพิธี ส่งมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานเมื่อ พ.ศ.2474 เชื่อกันเป็นพระพุทธรูปอำนวยความสุข สวัสดี
3. พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 แสดงปางสมาธินาคปรกทรงเครื่อง มีผอบพระโอสถอยู่ในพระหัตถ์ เป็นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาพระพุทธเจ้าซึ่งมีอยู่เป็นอนันต์ นับถือว่าทรงเป็นพระพุทธเจ้าแพทย์ เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระบารมีโดยอธิษฐานความปราศโรคภัยของผู้คนในกาลสมัยของพระองค์ ผู้นับถือและบูชาพระองค์จึงปราศจากโรคภัยเบียดเบียน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกรุงกัมพูชา สร้างพระราชทานเป็นพระปฏิมาประธานในอโรคยศาลา เพื่อผู้ป่วยและประชาชนบูชา เพื่อพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ
4. พระชัยลงอักขระขอม ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 -20 สร้างขึ้นเป็นมงคลในการศึกสงคราม (เช่น พระชัยหลังช้างและพระชัยอัญเชิญไปในเรือรบสำหรับนำทัพ) และการพระราชพิธี (เช่น พระชัยพิธี) พระชัยอัญเชิญไปในการทัพ เพื่อประสบชัยชนะแก่อริราชศัตรู และอัญเชิญในการพิธี เพื่อปราศการรบกวนเบียดเบียนบีฑาและความสัมฤทธิ์ผลแห่งพิธีกรรมองค์พระชัยลงอักขระขอมเป็นหัวใจพระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหมายถึง ชัยชำนะโดยยึดถือคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย
5. พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่12 - 23 สร้างขึ้นตามคติเรื่องชมพูบดีสูตร หรือพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระยาชมพูบดี ทรงนิรมิตพระองค์ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช เหนือพระยามหากษัตริย์ทั้งปวง เพื่อคลายทิฐิมานะแห่งพระยามหาชมพูกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพพระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิจึงหมายถึง อำนาจ และธรรมอันเป็นแก่นสารยิ่งกว่าอำนาจแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหลาย พระพุทธรูปดังกล่าวนี้นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ผู้เป็นหน่อพุทธางกูร
6. – 7. พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แดงทั้งคู่ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ ตามดำนานพระแก่นจันทน์ ว่าด้วยสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดายังดาวดึงส์สวรรค์เป็นเวลา 3 เดือน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอนุสรณ์ถึงพระพุทธองค์จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ขึ้นในครั้งนั้น พระแก่นจันทน์จึงเป็นรูปแทนเสมือนองค์พระพุทธเจ้า เพราะสร้างในขณะพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่พระเจ้าแผ่นดินและผู้มีอำนาจวาสนาจึงมักสร้างพระพุทธรูปจากไม้จันทน์หอมพระไม้แก่นจันทน์แดงทั้งคู่นี้ แสดงปางประทานอภัย มีความหมายถึงการปกป้องภยันตรายทั้งปวง
8. พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนาก เนื่องจากเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองคำมากเป็นพิเศษ พระเนตรฝังนิล ประทับขัดสมาธิเพชรพระบาททั้งสองข้างจำหลักลวดลายมงคล จากจารึกฐานพระพุทธรูปเป็นของพระยายุธิษฐิระเจ้าเมืองพะเยาสร้างเมื่อพ.ศ.2019 เดิมพบในเจดีย์โบราณที่เมืองพะเยา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มาเมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2469 จึงพระราชทานให้เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานพระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ หมายถึงการตรัสรู้ธรรม
9. พระพุทธรัตนมหามุนี พระแก้วน้อย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณีเนื้ออ่อนแก้วสีเขียว พุทธศิลป์ล้านนาสมัยหลัง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี รับถวายจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตรและครอบครัวพระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2534

ที่มา

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

169: ประมูลพระพุทธปฐวีธาตุ เพื่อร่วมบุญฯกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์

ประมูลพระพุทธปฐวีธาตุ เพื่อร่วมบุญฯกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช
::: ในวาระสรงน้ำองค์พระในภูดานไห (สงกรานต์ปี 2555) :::

เนื่องจากวันนี้เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ปีนักษัตรที่ 5 (มะโรง)
จึงขออนุญาตนำเสนอรายการประมูลดังนี้
1. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 1 : ประมูลเริ่มต้นที่ 5,555 บาท
2. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 2 : ประมูลเริ่มต้นที่ 4,555 บาท
3. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 3 : ประมูลเริ่มต้นที่ 3,555 บาท
(ทุกรายการจะพิจารณามอบพระพิมพ์สายวังฯให้ 1 องค์)

เริ่มประมูลร่วมบุญฯระหว่างวันที่ : 6 เม.ย. 55 สิ้นสุด 15 เม.ย. 55 (เวลาพลังจิต 09:05)
โดยการประมูลผ่าน 4 ช่องทางคือ
1. ผ่านเวปบอร์ด : หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต
2. ผ่านทาง e-mail : it.man@hotmail.co.th
3. ผ่านทางเบอร์มือถือ : 087 683 2992
4. ผ่าน PM : IT Man

โอนปัจจัยร่วมบุญหลังทราบผลการประมูลที่:
ชื่อบัญชี : นางบุญชม ยางธิสาร
เลขที่บัญชี: 4160396194
ธนาคาร : กรุงไทย สาขากุฉินารายณ์
ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์


รับพระพุทธปฐวีธาตุหลังวันที่ : 20 เม.ย.55
ขอกราบขอบพระคุณและโมทนาสาธุในบุญกุศลนี้ทุกประการ
IT Man/06.04.55
ภาพรายการพระพุทธปฐวีธาตุเรียงตามลำดับดังนี้




วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

168: หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า...ปางภัตกิจ



หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า...ปางภัตกิจ
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ (3 จบ)
พระธาตุหลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า

พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

ชื่อ "อุปคุต" แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา

พระอุปคุตเป็นพระที่เป็นที่นิยมของชาวอินเดีย มอญและชาวไทยทางเหนือ และอีสาน สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายรัชกาลที่ 4 ในตอนที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ แม้รัชกาลที่ 5 ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย

เชื่อกันมาว่า พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ปราบพระยามาร มีเรื่องเล่ามาว่า ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่ถูกพระยามารมาผจญ ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพระยามารจนพระยามารยอมแพ้[1] จากนั้นพระอุปคุตก็มีชื่อเสียงในทางปราบมาร ท่านมีอีกชื่อว่า "พระบัวเข็ม"

ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวล้านนาว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวล้านนาจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

167: ด้านหลังพระสมเด็จกลักไม้ขีด

ด้านหลังขององค์พระพิมพ์สมเด็จกลักไม้ขีด ลงรักปิดทอง
องค์แทนคุณมารดา ที่ท่านผู้ร่วมประมูลโชคดีไปคือท่านพิศดู

ขอแสดงความยินดีและโมทนาสาธุด้วยครับ
ปล: พระพิมพ์ชุดกลักไม้ขีดนี้ดีมากทางมหาลาภและโภคทรัพย์ แต่องค์นี้ผ่านสายตาองค์พ่อแม่ครูอาจารย์แล้ว
แน่นอนว่า...จะดีทางด้านส่งเสริมการภาวนาด้วยครับ (ความเห็นส่วนตัว)