วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

59: พระพุทธนวราชนาคา


 
 
 
Link: #5385
อันเนื่องมาจาก เห็นพระบูชาของญาติธรรม โดยเฉพาะพระบูชาพระสมเด็จองค์ปฐม จึงอยากได้นำมาเป็นพระประธานประจำบ้าน (ประดิษฐานแทนพระบูชาเชียงแสนฯ ที่จักน้อมถวายแด่พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช ในวาระธรรมะสัญจรสู่ นรธ.ครั้งที่ 1 ณ.จันทบุรี ระหว่างวันที่ 15-24 ต.ค.'54)

ดังนั้น การเข้า กทม. ครั้งล่าสุด จึงทำให้ผมมีนิมิตเห็นพระสมเด็จองค์ปฐม ทั้งในขณะลืมตา หลับตา มาตลอดการเดินทางเข้า กทม. และปีติสุขยิ่งนัก (ทราบภายหลังว่าท่านเสด็จมาโปรดปรับธาตุขันธ์เพื่อรองรับธรรมอีกระดับ) แม้ระยะ(ทาง)เวลาการเดินทางจักเพิ่มขึ้นจากเดิมราว 6-7 ชม. เป็น 12-13 ชม. เพราะต้องหลบน้ำท่วมก็ตาม

ความฝันของผมเป็นจริง เมื่อราวบ่ายวันเสาร์ที่ 8 ต.ค.'54 โดยการนำพาของท่าน ดร.ณัฐชัย ผมได้พบและสามารถอัญเชิญพระบูชานาคปรก 9 เศียร (ตรงกับวันเกิดพอดี) ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิ์แห่งนาคราช และเหล่านักรบธรรมชอบเอ่ยพระนามท่านว่า หลวงปู่ศรีสุทโธ (บางความเชื่อก็ว่าเป็นพญามุจลินท์)

จากการขอพระเมตตาพระเบื้องบนช่วยสงเคราะห์ได้ความว่า พระบูชาองค์นี้...
- สร้างในปี พ.ศ. 2411 วาระเดียวกับ พระสมเด็จองค์ปฐมของท่าน ดร.ณัฐชัย
- พระพุทธคือ สมเด็จพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระองค์ปัจจุบัน) ขณะทรงเสวยพระวิมุตติสุข
- ฐานพระ 12 นิ้ว สร้างด้วยโลหะ ลงชาดปิดทอง ประดับด้วยพระบรมสารีริกธาตุ เกล็ดพญานาค และอัญมณีหลากสี
- ใต้ฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสมเด็จองค์ปฐม พระเสโทพระองค์ปัจจุบัน พระพิมพ์สมเด็จ และน้ำประสาน 7 สี
- ผมถวายพระนามท่านว่า พระพุทธนวราชนาคา (กำลังชื่อเท่ากับ 59)

เชิญชมภาพก่อนสรงน้ำ/หลังสรงน้ำ/อัญเชิญขึ้นประดิษฐานเมื่อ 9:00 น.
วันจันทร์ที่ 10 ต.ค.'54 ขึ้น 13 ค่ำเดือน 11 ครับ
 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220706.jpg
Views: 61
Size: 293.4 KB
ID: 1716607 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220710.jpg
Views: 1
Size: 469.6 KB
ID: 1716609 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220707.jpg
Views: 5
Size: 329.5 KB
ID: 1716608 
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220729.JPG
Views: 1
Size: 384.2 KB
ID: 1716624 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220727.JPG
Views: 1
Size: 282.9 KB
ID: 1716622 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220732.JPG
Views: 1
Size: 394.7 KB
ID: 1716626 
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220728.JPG
Views: 1
Size: 229.3 KB
ID: 1716623 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220711.jpg
Views: 2
Size: 200.0 KB
ID: 1716610 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220713.JPG
Views: 1
Size: 245.4 KB
ID: 1716612 
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220714.JPG
Views: 1
Size: 262.5 KB
ID: 1716613 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220717.JPG
Views: 1
Size: 281.2 KB
ID: 1716614 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220718.JPG
Views: 2
Size: 248.6 KB
ID: 1716615
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220719.JPG
Views: 1
Size: 202.5 KB
ID: 1716616 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220720.JPG
Views: 1
Size: 193.8 KB
ID: 1716617 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name: P1220721.JPG
Views: 1
Size: 164.3 KB
ID: 1716618


พุทธตำนานพระปางนาคปรก (ข้อมูลจาก www.wikipedia.org)

ปางนาคปรก เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ และมีพญานาคแผ่หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมเป็นรูปพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปงู 7 หัว เป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรในกิริยาที่พญานาคทำท่านมัสการพระพุทธเจ้า ต่อมาภายหลังทำพญานาคเป็นรูปงูขดตัวเป็นฐานตั้งพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนตัวพญานาค และมีพังพานและหัวของพญานาค 7 เศียรปกอยู่

หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ พระองค์ท่านได้แปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุติสุขยังสถานที่ต่างๆ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์นัก โดยประทับแต่ละที่สัปดาห์ละ 7 วัน และในสัปดาห์ที่สามในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์(ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธองค์เสร็จมาประทับอยู่ที่นี่ ได้บังเกิดมีฝน และลมหนาวตกพร่าตลอดเวลาเจ็ดวันไม่ขาดสาย ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อ "มุจลินท์" ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อปกป้องพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัด และสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย ครั้งฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า

"ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว ได้รู้เห็นสังขารทั่งปวงตามเป็นจริงอย่างไร"

"ความสำรวมเบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นผู้ปราศจากกำหนด หรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั่งปวงเสียได้"

"เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมินานะ หรือการถือตัวคนหากกระทำให้(การถือตัว)หมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"


ประวัติและความสำคัญ ครั้งพระพุทธองค์เสร็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น 7 วันแล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด 7 วัน ผู้เป็นราชาแห่งนาคได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝน และลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วยครั้งฝนหายแล้ว พญามุจลินท์นาคราชจึงคลายขนาดจากที่ล้อมพระวรกายพระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรางเปล่งอุทานว่า "สุโข วิเวโก ตุฎฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกกะโม อัสมินามัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขังฯ" ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วรู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียงซึ่งอัสมิมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจลินท์นาคราชที่ขนดหางแวดล้อมพระวรกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า "ปางนาคปรก" เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดหางตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง 4-5 ชั้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝน และลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย ซึ่งตามข้อเท็จจริง เป็นพระศิลป์ไม่สวยงาม ในระยะยุคสมัยต่อมาจึงมีประยุกต์ตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เข้มขลังพลังมากยิ่งขึ้น จึงเกิดพุทธศิลป์ปางนาคปรกที่สวยงามทรงอำนาจอย่างทุกวันนี้

พุทธลักษณะพระปางนาคปรก
ลักษณะเด่นแห่งพระพุทธลักษณะของพระปางนาคปรก คือ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ บางครั้งก็จะเห็นนั่งขัดสมาธิเพชรก็มี พระหัตถ์ทั้งสองข้างหงายเพื่อวางซ้อนกันบนพระเพลา ในลักษณะพระหัตถ์ขวาทับซ้าย และมีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ซึ่งรูปแบบพญานาคที่แผ่พังพานนั้น มีทั้ง 3เศียร 5เศียร 7เศียร และ 9เศียร(แล้วแต่ความเชื่อของผู้สร้าง) แต่มีข้อสังเกตว่า ในยุคต้นๆ เช่น ในพุทธศตวรรษที่ 12-14 มักจะเห็นเป็นพญานาค 3เศียร และ5เศียร นั่นย่อมหมายความว่ายิ่งนานพญานาคยิ่งมีหลายเศียรมากขึ้น อาจเป็นเพราะเพื่อความอลังการรุ่งเรืองตามยุคสมัย และความอุดมแห่งปัญญาทางความคิด และความเชื่อของผู้สร้าง
คาถาบูชาพระมหามงคลมุจลินท์ปางนาคปรก 
 ยะโตหัง ภะคินิ อะระยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชา นามิ
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ
 

 ขอให้สวด 10 จบ ในการบูชาหรือสวดก่อนนอนทุวันจะเกิดอานิสงส์ แลเกิดเป็นเกราะแก้ว กำแพงทิพย์คุ้มครองป้องกันภัยทุกสถาน และเป็นพลังส่งเสริมให้เกิดความมั่นคง ในรูปทรัพย์ และโภคทรัพย์ดีนักแล และนอกจากคาถานี้แล้วก็ยังสามารถใช้คาถาหัวใจอิติปิโสในกระทู้ 7 แบบ บทที่ 4 สวดภาวนาในเรื่องภพพระปางนาคปรกก็ได้เช่นกัน
คาถาบูชาในหัวใจอิติปิโส (กระทู้ 7 แบบ) 
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ เป็นคาถาชื่อว่า "นารายณ์ถอดจักร์" 
 ใช้ภาวนาหรือสวดวันละ 10 จบ ป้องกันภัยคุณไสย ป้องกันเสนียดจัญไรทั้งปวง แคล้วคลาด ปลอดภัยทุกสถาน มีผู้ใช้คาถานี้ในยามคับขันได้ผลเสมือนหายตัวได้ เป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เห็นเป็นจิตภาพ แต่มิได้ให้เชื่ออย่างงมงาย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดแต่เหตุทั้งสิ้น จึงพิจารณาด้วยปัญญาเอาเองเถิด
วัตถุประสงค์ดี มีจิตมุ่งมั่น และศรัทธาเป็นเลิศ
มวลสาร และโลหะดีเป็นมงคล พิธีกรรมถูกต้อง
ฤกษ์ยามเหมาะสม ความศักดิ์สิทธิ์จึงเกิดขึ้นอย่างมิต้องสงสัย
อุปเท่ห์ในการใช้คาถาบทนารายณ์ถอดจักร
มีผู้รู้ และมีประสบการณ์ในการใช้คาถาบทนารายณ์ถอดจักร ได้แนะนำเคล็ดคาถาให้แก่ผู้เขียน ที่สมควรนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน ดังนี้ ผู้ที่จะใช้บทคาถานารายณ์ถอดจักร (โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ)ให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว และมีพลังจิตที่นำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ของคาถานั้น ท่านว่า ให้ภาวนาคาถา แล้วกำหนดจิตตามแนวทางวิชาธรรมกาย (วิชานี้มีอานิสงส์ ในการทำสมาธิจิต และพัฒนาจิตให้มีพลังเป็นเลิศ) โดยกำหนดน้อมนำเอง องค์พระมหามุจลินท์ปางนาคปรก 9เศียร อัญเชิญเสด็จเข้าทางจมูก ด้วยจิตใจใสสะอาดอย่างผ่องแผ้ว นำกำหนดมาไว้ที่ภายในหน้าผาก จากนั้นน้อมนำไปไว้ที่ท้ายทอย นำลงไปสู่ลำคอ ต่อไปที่ทรวงอก แล้วนำไปประดิษฐาน ณ จุดศูนย์(เหนือสะดือ 2 นิ้ว)โดยหายใจเข้าลึกๆ แล้วให้ลมหายใจเข้าไปถึงพอดี
จากนั้นก็พิจารณาเพ่งดูองค์พระในเรือนกาย ทำจิตให้นิ่งให้เห็น และรู้สึกได้ว่า พระมหามงคลมุจลินท์ ประดิษฐานในเรือนกายไม่ว่าจะนั่ง นอน เดิน หรืออยู่ในทุกอิริยาบถ จะเกิดพลังคุ้มครองกาย ด้วยอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธคุณ มีผู้ปฏิบัติเห็นผล มีประสบการณ์มากมายแล้ว
คติความเชื่อและอานิสงส์ในการบูชาพระนาคปรก พระปางนาคปรก เกิดจากปฏิปทาที่เป็นกุศลของพญานาคที่ชื่อว่า "พญามุจลินท์" ที่มีความประสงค์อย่างแรงกล้าในการคุ้มภัยคุ้มฟ้าคุ้มฝน ให้แก่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะที่เสวยวิมุตติสุขหลังจากที่ตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ 3
ดังนั้นพระปางนาคปรก นึงมีพุทธคุณสูงสุดในการคุ้มครองป้องกันเป็นหลักใหญ่ ความร่มเย็นเป็นสุข และการมีมหาเมตตา มหานิยมเพื่อให้เกิดสันติสุขอันยิ่งใหญ่ ก็เป็นพุทธคุณเสริมส่งเป็นมหามงคลยิ่งควบคู่ประกอบกันไปด้วย
ในคติความนิยม มักจะกล่าวว่า พระปางนาคปรกนั้นเป็นพระประจำวัน ของผู้ที่เกิดวันเสาร์ นาคปรกนั้นมีพระพุทธคุณปาฏิหาริย์ในการคุ้มครองป้องกัน การสร้างความมั่นคง รุ่งเรือง ในฐานานุรูป และโภคทรัพย์ และดลบันดาลสันติสุข ร่มเย็น เป้นมงคลแก่บุคคลที่เคารพบูชาทั่วไป มีข้อสังเกตว่า สมัยที่อาณาจักรขอมรุ่งเรืองนั้น ในปราสาท ราชวัง และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เรามักจะเห็นพระพุทธรูปปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ทั่วไปเกือบทุกแห่ง