รวมพระพุทธรูปสำคัญ 9 พระองค์ คือ
1. พระพุทธสิหิงค์ พระปฏิมาแบบสุโขทัย – ล้านนา นับถือเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นสิริยังพระนครหลวงของไทยทุกแห่ง นับแต่กรุงสุโขทัย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยาตราบเท่าถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสถิตเป็นมงคลแก่พระนคร ประจำ ณพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานครได้อัญเชิญออกให้ประชาชนถวายน้ำสงกรานต์เป็นประจำทุกปี นับเป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์และสวัสดิมงคล 2. พระหายโศก พระปฏิมาศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นพระพุทธรูปของหลวงพระราชทาน มีนามเป็นมงคลพิเศษ จากจารึกฐานพระพุทธรูปกล่าวว่าส่งมาถึงกรุงเทพฯ (จากล้านนา) ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2399 เดิมคงใช้ในพระราชพิธีหลวง จนกระทั่งกรมพระราชพิธี ส่งมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานเมื่อ พ.ศ.2474 เชื่อกันเป็นพระพุทธรูปอำนวยความสุข สวัสดี
3. พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 แสดงปางสมาธินาคปรกทรงเครื่อง มีผอบพระโอสถอยู่ในพระหัตถ์ เป็นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาพระพุทธเจ้าซึ่งมีอยู่เป็นอนันต์ นับถือว่าทรงเป็นพระพุทธเจ้าแพทย์ เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระบารมีโดยอธิษฐานความปราศโรคภัยของผู้คนในกาลสมัยของพระองค์ ผู้นับถือและบูชาพระองค์จึงปราศจากโรคภัยเบียดเบียน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกรุงกัมพูชา สร้างพระราชทานเป็นพระปฏิมาประธานในอโรคยศาลา เพื่อผู้ป่วยและประชาชนบูชา เพื่อพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ
4. พระชัยลงอักขระขอม ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 -20 สร้างขึ้นเป็นมงคลในการศึกสงคราม (เช่น พระชัยหลังช้างและพระชัยอัญเชิญไปในเรือรบสำหรับนำทัพ) และการพระราชพิธี (เช่น พระชัยพิธี) พระชัยอัญเชิญไปในการทัพ เพื่อประสบชัยชนะแก่อริราชศัตรู และอัญเชิญในการพิธี เพื่อปราศการรบกวนเบียดเบียนบีฑาและความสัมฤทธิ์ผลแห่งพิธีกรรมองค์พระชัยลงอักขระขอมเป็นหัวใจพระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหมายถึง ชัยชำนะโดยยึดถือคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย
5. พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่12 - 23 สร้างขึ้นตามคติเรื่องชมพูบดีสูตร หรือพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระยาชมพูบดี ทรงนิรมิตพระองค์ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช เหนือพระยามหากษัตริย์ทั้งปวง เพื่อคลายทิฐิมานะแห่งพระยามหาชมพูกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพพระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิจึงหมายถึง อำนาจ และธรรมอันเป็นแก่นสารยิ่งกว่าอำนาจแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหลาย พระพุทธรูปดังกล่าวนี้นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ผู้เป็นหน่อพุทธางกูร
8. พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนาก เนื่องจากเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองคำมากเป็นพิเศษ พระเนตรฝังนิล ประทับขัดสมาธิเพชรพระบาททั้งสองข้างจำหลักลวดลายมงคล จากจารึกฐานพระพุทธรูปเป็นของพระยายุธิษฐิระเจ้าเมืองพะเยาสร้างเมื่อพ.ศ.2019 เดิมพบในเจดีย์โบราณที่เมืองพะเยา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มาเมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2469 จึงพระราชทานให้เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานพระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ หมายถึงการตรัสรู้ธรรม
9. พระพุทธรัตนมหามุนี พระแก้วน้อย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณีเนื้ออ่อนแก้วสีเขียว พุทธศิลป์ล้านนาสมัยหลัง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี รับถวายจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตรและครอบครัวพระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2534
ที่มา