วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระพิมพ์ปัญจสิริ,สัตตสิริผสมผงตะไบทองสายวังฯ

พระพิมพ์ปัญจสิริ,สัตตสิริผสมผงตะไบทอง สายวังฯ
(องค์ล่างขวา) มีรอยฝนมุมบนขวา สันนิษฐานว่าฝนเอามวลสารมาทำยา หรือทำเป็นรหัสไว้
เดิมมีความเชื่อว่า : เมื่อยุคสมัยที่มีการสร้างพระพิมพ์ชุดพิเศษสายวังฯเพื่อเฉลิมฉลองฯ มีการค้าระหว่างไทย-จีนอยู่ก่อนแล้วนั้น จึงได้นำหินสีบดเป็นผงละเอียด (ปูน) ชนิดต่างๆจากภูเขาในประเทศจีน (อีกทั้งทูลขอพระราชทานช่างหลวงจากพระเจ้ากรุงจีน มาร่วมสร้างฯ) ขึ้นเรือสำเภากลับมา เพื่อเป็นมวลสารในสร้างพระพิมพ์ชุดปัญจสิริ,สัตตสิริ และพระพิมพ์ชุดพิเศษอื่นๆเช่น T4 ทำให้พระพิมพ์เหล่านี้ มีความบาง แกร่ง ต่างจากพระพิมพ์สมเด็จทั่วไป พอนำองค์พระมากระทบกัน จะมีเสียงดังกริ้งๆเหมือนแก้ว ที่สำคัญคือลวดลายด้านหน้ากับด้านหลังองค์พระ จักไม่เหมือนกัน พลานุภาพ ครอบคลุมทุกด้าน แต่เน้นหนักไปทางเมตตาค้าขาย

เมื่อเห็นภาพอุทยานภูเขาสีรุ้ง Zhangye Danxia เมืองจางเย่ มณฑลกานซู่ ประเทศจีน อันเกิดจากการตกตะกอนของหินทราย และแร่ธาตุในบริเวณนี้ทับถมกันมานานกว่า 24 ล้านปี (ภาพจาก : www.fushioncorner.com) แล้ว... ช่างคล้ายกับพระพิมพ์ปัญจสิริมาก

หมายเหตุ : เป็นข้อสันนิษฐานทางกายภาพประกอบกับองค์ความรู้ที่เคยได้ศึกษามาเมื่อหลายปีก่อนเท่านั้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงใดๆได้


ภูเขาสีรุ้ง จางเย่ ตันเซี๋ย (Zhangye Danxia ) มลฑลกังสู (Gansu) ประเทศจีน
Link ภาพเพิ่มเติม : http://goo.gl/2n5kJi