วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

71: พระพิมพ์สมเด็จโตที่ได้ครอบครองแรกๆ

องคที่หนึ่ง เป็นพระพิมพ์สมเด็จ ได้มาจากหิ้งพระที่บ้าน ประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว ลองไปค้นๆดูที่บ้านนะ บางทีอาจมีฟลุคเช่นกัน
องค์ที่สอง ดูด้านหลังและเนื้อคงไม่ต้องบรรยาย ได้มาจากท่าพระจันทร์เมื่อราวสองปีที่ผ่านมา
องค์ที่สาม พระพิมพ์ซุ้มกระจังบุเงิน สร้างในวัง อธิษฐานจิตในพิธีหลวง ปัจจุบันเรียกพระพิมพ์เจ้าสัวของหลวงปู่บุญ องค์นี้ถือเป็นพิมพ์ต้นแบบก็ว่าได้ เนื้อสีดำ(เห็นจากรอยบุบของเงินที่บุเนื้อพระไว้) มวลเบาและแกร่ง (ไม่ได้แกะดูเต็มๆ น่าจะเป็นเนื้อว่านหรือผสมผงใบลาน)

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

70: พระพิมพ์ใช้อัญมณีแกะสลัก

องค์จตุคามที่ล้ำค่าอีกองค์หนึ่งในโลก ที่ผู้มีบุญได้สะสมไว้นานแล้ว และท่านได้ส่งมาให้ผมเผยแพร่เป็นวิทยาทาน จตุคามองค์นี้เป็นแก้วรัตนชาติที่ตรวจสอบโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีแห่งชาติแล้ว ปรากฏว่าเป็นเนื้อ Natural Quart : Chalcedony ผมพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นพระกรุวังหน้าหรือวัดพระแก้ว(วังหน้า) ที่ล้ำค่ามาก จึงขออนุญาตท่านเจ้าของนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานครับ
ขออนุโมทนากับท่านเจ้าของด้วยนะครับ
ดร.นนต์
5 พฤศจิกายน 2554
 

จากประสบการณ์(มือสมัครเล่น) ด้านงานอัญมณีกลุ่ม หยก ทับทิบ นิหล่า(เดิมๆต้องไม่เผา) และมรกต(นำเข้า) ที่เป็นอัญมณีขึ้นชื่อในแม่สอด(จากพม่า) ผมพิศดูครั้งแรกก็ว่าน่าจะเป็นหยกน้ำดีนะครับ

(ในความเห็นส่วนตัว) ที่เคยครอบครองวัตถุมงคลสายวังยุค ร.4-5 (ขอเรียกพระพิมพ์วังหน้าและวังหลวงเป็น "พระพิมพ์สายวัง" ไม่แบ่งแยกกันอีก) ท่านมักจะใช้อัญมณีเกรดดี ธาตุกายสิทธิ์ และพระบรมฯ(ของสูงสุด) มาประดับองค์พระพุทธรูป,รวมถึงประดับใต้ฐาน ลองพิจารณาพระพุทธนวราชนาคาประกอบครับ
ส่วนพระพิมพ์ก็ใช้หยก มรกต (สีเขียว) หรืออัญมณีอื่นๆ พระแก้วมณีโชติแกะสลักเป็นพระพิมพ์ต่างๆ ส่วนที่เลียนแบบ จะมีพลอยเก๊ปะปนด้วย (มวลจะเบาไม่เล่นแสง)

หากสนใจ...ก็ควรศึกษาไว้บ้างนะครับ บางท่าน(นักนิยมพระตามตำรา) ดูไปคิดว่าเป็นพระลิเกหลายสี ก็เลยพลาดของดีๆอิทธิคุณสูงไป
   
 
 

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

69: น้ำมนต์จากบาตรน้ำมนต์หลวงปู่ปวเรศ

หลังจากล้างบาตรเสร็จ โดยใช้เวลากว่า 1-2 สัปดาห์ ผมใคร่อยากดื่มน้ำมนต์ที่ได้มาจากบาตรน้ำมนต์ฯแลนำไปอาบเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัว จึงได้นำพระพิมพ์ที่คิดว่าสุดยอดๆในตอนนั้น (เมื่อราว 2 ปีที่แล้ว : พ.ย. 2552) มาแช่น้ำมนต์ดังภาพ
พลานุภาพของน้ำมนต์ที่ได้จากบาตรน้ำมนต์นี้ แรงพอๆกับพระพิมพ์พระคณาจารย์ในยุคปัจจุบัน ทว่าหากได้น้ำทิพย์ที่เกิดจากสมเด็จพระองค์ปัจจุบันทรงบ้วนไว้ให้ที่ยอดเขาพระพุทธบาท 4 รอย (เข้าถึงลำบากมาก) ผสมสักหยดสองหยด น้ำมนต์นี้ก็จักแรงกว่าพระพิมพ์สมเด็จวัดระฆังประมาณ 10 เท่าทีเดียว...


ผมใจดีและดีใจที่ได้ของดีง่ายๆ จึงได้บรรจุขวดเล็กๆไว้แจก สงเคราะห์คนป่วย ถวายพระ หรือขับไล่คุณไสย ฯลฯ (เป็นเจตนาอยากสงเคราะห์แต่แรกๆ) ทำได้ระยะหนึ่ง ครูบาอาจารย์ฝ่ายฆราวาสห้ามไว้...ประเดี๋ยวเจ้ากรรมนายเวรของผู้ที่เราสงเคราะห์จะหันกลับมาเล่นงานเราแทน ได้ไม่คุ้มเสีย ปล่อยไปตามกรรมเขาจักดีกว่า ผมจึงหยุดแจกน้ำมนต์(น้ำทิพย์)ตั้งแต่นั้นมา


ปล: น้ำมนต์ที่ว่าเคยขับไล่คุณไสยได้ผลโดยบังเอิญ 
มีญาติธรรมนำน้ำมนต์นี้ไปถวายพระอาจารย์ แล้วท่านก็หยดใส่โอ่งน้ำมนต์ไว้สองสามหยด บังเอิญมีคนที่เขาโดนคุณไสยฝ่ายอิสลาม แล้วหาอาจารย์ปราบไม่ได้ มาดื่มเข้า...เขาก็เกิดอาการชักดิ้นชักงอแล้วหายจากอาการโดนคุณไสยได้ ไม่ต้องถึงมือพระอาจารย์ (มีเรื่องเล่าที่พิสดาร แต่ขอย่นย่อพอสังเขป)

68: บาตรน้ำมนต์หลวงปู่ปวเรศปี 2434

ผมได้รับบาตรน้ำมนต์ที่สร้างขึ้นในวาระหลวงปู่กรมพระยาปวเรศฯขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชปี 2434 (ร.ศ.110) พิศดูบาตรทางสายตาพอจะได้ข้อสรุปดังนี้
- เนื้อบาตรน่าจะเป็นเนื้อขันลงหิน ขึ้นสนิมและดำมากๆ
- มีเปลวเทียนหยดเต็มบาตรน้ำมนต์
- มีเหรียญบาตรน้ำมนต์ติดอยู่โดยรอบ 3 เหรียญ
- มีพระกริ่งก้น จปร.ประจุอยู่ด้านในตรงกลางบาตร
ภาพชุดแรก: ก่อนล้างบาตร
 
 
.........................................................................................................
ภาพชุดที่สอง: หลังล้างบาตร
สำหรับการล้างบาตรนั้น ผมไม่ได้ล้างเองครับ ยกไปให้ร้านทำทองเขาทำให้ได้ความดังนี้...
1. พยายามแซะเอาเทียนออกมาก่อน (ใช้แปลงพลาสติกแซะ)  ปั้นเป็นก้อนเก็บไว้ ณ ที่อันควร
2. เจือจางด้วยน้ำยาไซยาไนต์ผสมน้ำอุ่น แช่ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง แล้วขัดด้วยแปลงอ่อนๆ (ห้ามใช้สก๊อตไบร์) ขั้นตอนนี้ต้องระวังเรื่องน้ำยากระเด็น หรือโดนผิว
3. เมื่อออกหมดแล้ว ก็เข้ามอเตอร์ปั่นขัดเงาตามกรรมวิธีทำอัญมณีหรือทำแหวน
สรุป: ผมว่าจ้างช่างทอง ทำตามนี้ดีกว่าครับ เพราะน้ำยาอันตราย!


 

ก้นบาตร / ในองค์บาตร
 
 
บนฐานบาตร / ใต้ฐานบาตร
  
ฝาบาตร / ใต้ฝาบาตร
 
ฐานองค์บาตร / ด้านข้างบาตร
.........................................................................................................
ภาพชุดที่สาม: เหรียญบาตรน้ำมนต์
 
.........................................................................................................
ภาพชุดที่สี่ : พระกริ่งปวเรศ ก้น จปร.