วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

85: พระพิมพ์สมเด็จเนื้อโลหะ

พระเบญจภาคีเนื้อทองคำ
ผมได้รับข้อความจากผู้อาวุโสท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นนักสะสมพระเครื่องจำนวนมากคนหนึ่งของเมืองไทย ผมเคยพบกับท่านแล้ว และปัจจุบันท่านได้เริ่มหันมาปฏิบัติธรรมมากขึ้นหลังจากที่เราได้พบกัน จึงขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้อาวุโสที่อนุญาตให้นำพระเครื่องพระบูชาอันทรงคุณค่า ที่อยู่นอกกำมือเซียน มาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าอีกแนวทางหนึ่ง แต่พึงระวังของปลอมที่ออกมามากในช่วงนี้ ผมขอนำเอาข้อความและภาพพระชุดเบญจภาคีเนื้อทองคำและเนื้อต่างๆของผู้อาวุโส มาลงให้ทุกท่านได้ศึกษาดังต่อไปนี้

ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
13 ธันวาคม 2554
..............................................................................................
ท่านณัฐชัย ท่านนนต์ ท่านสมบัติ ท่านอ๊อด

เพื่อพิจารณา
ผมได้เรียนไว้เบื้องต้นแล้วว่า ผมก็คงคล้ายกับหลายคน ที่เบื้องต้นก็ลุ่มหลงในวัตถุมงคล(รูปธรรม) ปัจจุบันค่อยๆเปลี่ยนไป หลังจากที่ได้พบหลายๆท่าน ความลุ่มหลงในรูปธรรมลดลง หันมาสนใจการปฏิบัติมากขึ้น

แต่เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับเตือนใจอีกหลายๆคน ที่อาจไม่ต้องหลงทาง ดังเช่นผม ที่ทุ่มเทไปเกินกว่าที่ควรเป็น จึงขอให้ท่านที่สามารถชี้แนะผู้อื่น ได้นำข้อมูลไปเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่อง พระเนื้อทองคำ ที่ต้องใช้เงินสูงในการสะสมและไม่รู้ด้วยว่า เนื้อทองคำจริงหรือเปล่า โดยไม่ต้องอ้างถึงผมก็ได้ครับ

เบญจภาคี ชุดที่ 1 ที่ส่งไปให้พิจารณาแล้วนั้น เนื้อทองคำ เกือบ 80% ส่วนผสมของโลหะใกล้เคียงกัน น่าจะสร้างและเสกในชุดเดียวกัน
พระชุดเบญจภาคีเนื้อทองคำ 80% สร้างโดยวังหน้าหรือวังหลวง อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่โต พรหมรังสี

 
 
 
 
 
 

เบญจภาคี ชุดที่ 2 ที่ส่งให้พิจารณาใหม่นี้ เนื้อทองคำลดน้อยลง 30-60% ส่วนผสมของโลหะอื่น ๆ แตกต่างกันออกไป ที่สำคัญมีส่วนของสังกะสีผสมเข้าไปด้วย อาจสร้างและเสกในวาระต่างกัน

ชุดที่ 2 นี้ เจ้าของเดิมจัดไว้แตกต่างกับชุดแรก โดยเฉพาะพระสมเด็จ ท่านใช้สมเด็จปี 2411 (รุ่นนี้ผมมี 3 องค์ จะเปรียบเทียบให้ดูภายหลัง)แทนสมเด็จวัดระฆัง แต่%ทองคำสูงถึง 61.67% และที่พบเป็นพิเศษ คือมีส่วนผสมของเนื้อปรอท 5-10% ในทุกๆองค์ และเกือบทุกองค์มีลายมือจารที่องค์พระ ยกเว้นพระสมเด็จ 2411 และทั้งชุดอยู่ในกรอบทองคำ

ผลการตรวจส่วนผสมของโลหะด้วย X-Ray Fluorescent ประกอบด้วย

สมเด็จ 2411 เนื้อ AU = 61.67% Ag = 3.48% Cu = 13.99% Zn = 11.55% Hg = 9.32%

พระซุ้มกอ เนื้อ AU = 61.04% Ag = 5.43% Cu = 15.18% Zn = 10.65% Hg = 10.65% ยังมีส่วนผสมของโลหะอื่นเล็กน้อย

พระนางพญา เนื้อ AU = 47.57% Ag = 2.12% Cu = 22.65% Zn = 16.49% Hg = 7.85% ยังมีส่วนผสมของโลหะอื่นเล็กน้อย

พระผงสุพรรณ เนื้อ AU = 29.37% Ag = 1.02% Cu = 38.48% Zn = 2375% Hg = 5.39% ยังมีส่วนผสมของโลหะอื่นเล็กน้อย

พระรอด เนื้อ AU = 66.35% Ag = 5.62% Cu = 8.53% Zn = 6.16% Hg = 12.64% ยังมีส่วนผสมของโลหะอื่นเล็กน้อย
 
 
 
 
 

เบญจภาคีชุดที่ 3 เป็นชุดที่มีเนื้อโลหะกะหลั่ยทอง แตกต่างกับชุดที่ 1 และ 2 ซึ่งมีส่วนผสมของทองคำสูง เพราะชุดกะหลั่ยทองนี้ จะมีส่วนผสมของทองคำ เพียง 1-3 % เท่านั้น ที่น่าสนใจมากขึ้น เพราะมี 2 องค์ที่มีส่วนผสมของ ทองแดง สังกะสี ในสัดส่วนที่สูง 90% และอีก 3 องค์ ที่มีส่วนผสมขิงนิเกิ้ลสูงถึง 80-90% บางองค์มีส่วนผสมของปรอทด้วย

ผลจาก X-ray Fluorescent มีดังนี้

พระสมเด็จ มีส่วนผสมของ Au = 3.21% Cu = 58.3% Zn = 34.8% Ni = 0.26 Hg = 1.94% Other = 1.49%

พระนางพญา มีส่วนผสมของ Au =2.82% Cu = 4.5% Zn = 0 Ni = 92.57 Hg = 0% Other = 0.11%

พระซุ้มกอ มีส่วนผสมของ Au = 2.42% Cu = 7.95% Zn = 0 Ni = 89.53 Hg = 0% Other = 0.1%

พระผงสุพรรณ มีส่วนผสมของ Au = 1.24% Cu = 12% Zn = 0.13% Ni = 84.25 Hg = 0.16% Other =2.22 %

พระรอด มีส่วนผสมของ Au = 2.86% Cu = 65.6% Zn = 30.4% Ni = 0.18 Hg = 0.46% Other = 0.5%

นอกจากนี้ ชุดนี้ผมยังมีพระลีลากำแพงเพชรอยู่ในชุดอีกด้วย แต่ไม่มีส่วนผสมของสังกะสี มีนิเกิ้ลสูง

พระลีลากำแพงเพชร มีส่วนผสมของ Au = 2.16% Cu = 8.68 Ni = 88.72 Hg = 0.08% Other = 0.36%

เมื่อเปรียบเทียบกับเหรียญเงินกะหลั่ยทอง หรือเหรียญทองแดงกะหลั่ยทองแล้ว จะพบว่ามีเนื้อทอง ไม่เกิน 1-5% เท่านั้น
จะส่งข้อมูลและรูปภาพในเหรียญอื่นๆ ภายหลังครับ
 
 
 
 
 
 
ขอให้ช่วยพิจารณาและเป็นข้อมูลในการเผยแพร่ได้เลยครับ
ด้วยความระลึกถึงครับ
...................................................................................................
ข้อสรุปโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนนต์ สิปปภากุล จากการศึกษาและตรวจสอบภายในจิตแล้ว มีผลดังนี้ครับ
 
1. พระเบญจภาคีชุดที่ 1 สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้อธิษฐานจิต
2. พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อทองคำในชุดที่ 2 สร้างในวาระปี 2411 (ร.5 ขึ้นครองราชย์) ส่วนพระองค์อื่นๆ สร้างในภายหลังบรรจุในกรุวัดพระแก้ว
3. พระเบญจภาคีและพระลีลาในชุดที่ 3 สร้างภายหลังและบรรจุกรุที่วัดพระแก้ว
 ...................................................................................................
พระสมเด็จวัดระฆัง อธิษฐานจิตโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และองค์อภิญญา ในวาระปี 2411 เป็นพิธีใหญ่ที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ ในโอกาสเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระพิมพ์นี้มีหลายเนื้อทั้ง เนื้อทองคำ เนื้อโลหะต่างๆ และเนื้อผง พระองค์นี้ ผมพึ่งได้อัญเชิญมาเมื่อวานนี้ หลังจากได้นำเอาพระพิมพ์เดียวกันของท่านผู้อาวุโสลงในบล็อกเมื่อวันก่อน หลังจากนั้นในจิตของผมผุดขึ้นมาว่า อยากจะได้พระพิมพ์นี้มาไว้เพื่อการบางอย่าง และก็ได้รับท่านมาทันที 

เมื่อคืนผมได้นำมาอธิษฐานจิตและตรวจสอบภายใน ปรากฏมีคลื่นพลังมหาศาลแผ่เข้ามาด้วยความปีติ ผมจึงได้อธิษฐานจิตเป็นวาระพิเศษ(ขอสงวนรายละเอียด) เพื่อให้ผู้ที่มีญาณสัมผัสได้ ได้มาทดสอบและค้นหาความพิเศษที่ผมได้อธิษฐานไว้แล้วด้วยตัวของท่านเอง

พระองค์นี้เป็นพระเนื้อทองเหลืองที่มีส่วนผสมของทองคำอยู่ด้วย และยังไม่ทราบว่ามีกี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนพระของท่านอาวุโส เป็นเนื้อทองคำประมาณ 61% ลองชมดูนะครับ

ขอเจริญในธรรม
ดร.นนต์
15 ธันวาคม 2554

พระเนื้อทองคำของผู้อาวุโส ราคาแพงมาก